Sunan Community
March 29, 2024, 06:40:09 am
Welcome, Guest. Please login or register.

Login with username, password and session length
News:
 
  Home Help Search Gallery Links Staff List Login Register  
  Show Posts
Pages: 1 [2] 3
51  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๔๓ พระญาติพระเจ้าพิมพิสาร on: August 24, 2009, 11:35:23 am


ภาพที่ ๔๓ ท้าวเธอทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ

 ในภาพที่ ๔๒ จะเห็นพระเจ้าพิมพิสารทรงหลั่งน้ำจากพระเต้าลงบนพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้า
การหลั่งน้ำในที่นี้เรียกตามภาษาสามัญว่า "กรวดน้ำ" หรือ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า "อุททิโสทก" แปลว่า กรวดน้ำมอบถวาย
ใช้ในกรณีเมื่อถวายของใหญ่โตที่ไม่อาจยกประเคนใส่มือพระได้ เช่น ที่ดิน และวัด เป็นต้น

ส่วนการกรวดน้ำของพระเจ้าพิมพิสารในภาพนี้เรียกว่า "ทักษิโณทก" แปลว่า กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแด่คนตาย
ใช้ในกรณีที่จะมอบสิ่งหนึ่งสิ่งใดแก่ผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งเป็นผู้รับอีกเหมือนกัน ผิดแต่ว่า สิ่งที่ให้มองไม่เห็นตัวตน เพราะเป็นบุญกุศล
ผู้รับก็มองไม่เห็น เพราะเป็นคนที่ตายไปแล้ว พิธีนี้เป็นที่นิยมกันอยู่ในเมืองไทยเวลาทำบุญทุกวันนี้

ภาพที่เห็นนี้เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลครั้งที่สองของพระเจ้าพิมพิสาร
 เมื่อครั้งแรกพระเจ้าพิมพิสารไม่ได้ทรงอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระญาติที่ล่วงลับไปแล้ว
ปฐมสมโพธิจึงว่า ในคืนวันนั้นพวกเปรตซึ่งเคยเป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสียงดังอื้ออึงขึ้นในพระราชนิเวศน์ ที่แสดงกายให้เห็นก็มี

ตามนิยายธรรมบทเล่าว่า เปรตเหล่านี้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เคยลักลอบ (หรือจะเรียกอย่างทุกวันนี้ว่า "คอรัปชั่น" ก็ได้) กินของที่คนเขานำมาถวายสงฆ์
ตายแล้วตกนรก แล้วมาเป็นเปรต และมาคอยรับส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารอุทิศให้ แต่เมื่อผิดหวังจึงประท้วงดังกล่าว

พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าในวันรุ่งขึ้น ทูลถามทราบความแล้ว จึงทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายอาหาร และจีวรแก่พระพุทธเจ้า
และพระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้นอีกต่อมา แล้วทรงหลั่งน้ำอุททิโสทกว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ"
แปลว่า "ขอกุศลผลบุญครั้งนี้จงไปถึงญาติพี่น้องของข้าพเจ้าด้วยเทอญ"
เปรตเหล่านี้จึงต่างได้รับกุศลผลบุญกันทั่วหน้า และพ้นจากความทุกข์ทรมานที่ได้รับอยู่

คำว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ" ได้กลายเป็นบทกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้คนตายที่คนไทยใช้อยู่ในปัจจุบัน


52  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๔๔ ทรงแต่งตั้งพระอัครสาวก on: August 24, 2009, 11:26:43 am


ภาพที่ ๔๔ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร อัครสาวกซ้าย –ขวามาทูลขอบรรพชาเป็นเอหิภิกขุ

ภาพที่เห็น คือ พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร กำลังบวชกับพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์
ก่อนบวช ทั้งสองบวชเป็นปริพาชกในฐานะเป็นศิษย์สาวกของสญชัย

สญชัยเป็นศาสดาปริพาชกที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในแคว้นมคธ มีลูกศิษย์และคนนับถือมาก
โมคคัลลาน์ สารีบุตร เคยอยู่ที่นี่เพื่อศึกษาหาความรู้ทางพ้นทุกข์ แต่ครั้นศึกษาจบแล้ว เห็นว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
จึงลาอาจารย์สญชัยออกแสวงหาความรู้ใหม่ต่อไป แล้วจึงมาพบ "พระอัสสชิ" ในเมืองราชคฤห์

พระอัสสชิเป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์ ที่พระพุทธเจ้าทรงส่งออกไปประกาศพระศาสนา
ท่านทราบว่าขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ ท่านจึงเดินทางมาเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นั่น
ระหว่างทางได้มาพบพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า "อุปติสสปริพาชก" สารีบุตรเห็นกิริยาท่าทางพระอัสสชิน่าเลื่อมใส
จึงสนใจเข้าไปสนทนาถามถึงทางปฏิบัติและผู้เป็นศาสดา เมื่อได้ฟังก็ชอบใจ
ภายหลังจากนั้นจึงกลับมาชวนสหายคือ"โมคคัลลาน์" หรือ "โกลิตปริพาชก" ก็เรียก ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
พร้อมด้วยปริพาชกบริวารทิ่ติดตามมาอีก ๒๕๐ คน

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรับรองการบวชของท่านทั้งสองด้วยพระดำรัสว่า "มาเป็นพระด้วยกันเถิด" นั้น
ผู้แต่งนิยายทางศาสนาพุทธแต่ก่อนพรรณาว่า บาตรและจีวรก็ล่องลอยมาจากนภากาศ สวมร่างของท่านทั้งสองเป็นพระภิกษุทันที

ความที่ว่านี้ ถ้าเขียนถอดความเป็นภาษาทุกวันนี้ก็คือ ผู้ที่เคยเป็นนักบวชอยู่ก่อนแล้ว เมื่อมาบวชกับพระพุทธเจ้าและได้รับอนุมัติแล้ว
ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมหาเครื่องอัฎฐบริขาร เพราะบาตรและจีวรมีอยู่พร้อมแล้ว
           
ภายหลังบวชแล้วไม่นาน ท่านทั้งสองได้ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จอรหันต์ ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระศาสนา
ช่วยพระพุทธเจ้ามากที่สุด พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านทั้งสองให้ดำรงตำแหน่งพระอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา
พระโมคคัลลาน์ฝ่ายซ้าย ว่าอย่างสามัญก็เท่ากับเป็นมือขวามือซ้ายของพระพุทธเจ้านั่นเอง
ท่านทั้งสองนี้นิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน พระสารีบุตรนิพพานด้วยโรคประจำตัว
ส่วนพระโมคคัลลาน์ถูกอันธพาลจากคนในศาสนาอื่น (เดียรถีย์) จ้างมาฆ่า
53  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๔๕ ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ on: August 24, 2009, 11:19:54 am


ภาพที่ ๔๕ พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาฏิโมกข์ แก่พระอรหันต์สงฆ์ในวันเพ็ญมาฆบูชา

ภายหลังพระโมคคัลลาน์ สารีบุตร บวชแล้วไม่นาน พระพุทธเจ้าได้ทรงประชุมพระสาวกขึ้นในวันเพ็ญกลางเดือนสาม
ที่พระเวฬุวันวนาราม เมืองราชคฤห์ โดยมีพระพุทธเจ้าทรงเป็นประธาน
การประชุมพระสาวกครั้งนี้ ผู้นับถือศาสนาพุทธในสมัยต่อมา เห็นเป็นเหตุที่มีความสำคัญมาก
จึงกำหนดถือวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่เรียกกันอยู่ทุกวันนี้ว่า "วันมาฆาบูชา"

การประชุมสาวกของพระพุทธเจ้าในครั้งนี้ แปลกกว่าทุกคราวที่มีอยู่ในสมัยพุทธกาล คือ พระสาวกมีจำนวน ๑,๒๕๐ รูป
แต่ละรูป แต่ละองค์ล้วนบวชกับพระพุทธเจ้า มีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน คือ พระพุทธเจ้า ล้วนเป็นพระอรหันต์
ต่างมาประชุมโดยไม่ได้นัดหมาย และพระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" ในที่ประชุม
การประชุมพระสาวกครั้งนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่ง ตามลักษณะแปลก ๔ ประการนี้ว่า "จาตุรงคสันนิบาต"

ในเวลานั้น กรุงราชคฤห์เป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่นี่
บรรดาพระสาวกที่แยกย้ายกันออกไปประกาศพระศาสนา ต่างได้ทราบว่า เวลานั้นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์
เมื่อเสร็จกิจประกาศพระศาสนาจึงต่างจรจาริกมาเฝ้า เมื่อมาพร้อมหน้ามากตั้งพันกว่า
พระพุทธเจ้าจึงประชุมพระสาวกแล้วแสดงโอวาทปาฏิโมกข์

"โอวาทปาฏิโมกข์" คือ หลักการโดยสรุปของศาสนาพุทธ มีทั้งหลักคำสอนและหลักการปกครองคณะสงฆ์ มีทั้งหมด ๑๓ ข้อ ด้วยกัน
เช่น เป็นต้นว่า ศาสนาพุทธสอนว่า ละชั่ว ทำดี ทำจิตบริสุทธิ์ สุดยอดคำสอนอยู่ที่นิพพาน ดับกิเลสพ้นทุกข์
และเป็นพระสงฆ์ต้องสำรวม กินอยู่พอประมาณ อดทน ไม่กล่าวร้ายป้ายสีคนอื่น ไม่เบียดเบียนคนอื่น
       
สมัยที่กล่าวนี้ พระพุทธเจ้ายังไม่ทรงบัญญัติวินัยปกครองสงฆ์ เพราะความเสียหายยังไม่เกิด จึงทรงวางหลักปกครองสงฆ์ไว้แต่โดยย่อ
เทียบให้เห็นก็คือ เมืองไทยสมัยไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีรัฐธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร
แต่มีธรรมนูญเป็นหลักปกครองแทน ธรรมนูญนี้เทียบได้กับโอวาทปาฏิโมกข์
ส่วนรัฐธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร ก็เทียบได้กับวินัยพุทธบัญญัติทั้งหมด ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นในเวลาต่อมา

54  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๔๖ เสด็จไปโปรดพระญาติ on: August 24, 2009, 11:14:28 am


ภาพที่ ๔๖ เสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ พระญาติผู้ใหญ่ถือว่าสูงอายุ ไม่ถวายบังคม

ตลอดเวลา ๖ ปีกว่า คือ นับแต่เสด็จออกบวช ตรัสรู้ และประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธ จนมีพระสาวกและคนนับถือมาก
พระพุทธเจ้ายังมิได้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองประสูติของพระองค์เลย ภาพที่เห็นนี้จึงเป็นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก
เพื่อโปรดพระประยูรญาติตามคำทูลอาราธนาของพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา

ด้วยพระทัยปรารถนาที่จะได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่ในฐานะหนึ่ง คือ พระราชโอรส เมื่อทรงทราบว่าขณะนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จประทับ
เพื่อประกาศพระศาสนาอยู่ในแคว้นมคธ พระเจ้าสุทโทธนะจึงส่งคณะทูตไปทูลอาราธนา

คณะทูตแต่ละคณะที่พระเจ้าสุทโธทนะส่งไปเพื่อทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า มีหัวหน้าและบริวาร
ซึ่งปฐมสมโพธิบอกว่า มีจำนวนหนึ่งพันคน รวมทั้งหมด ๑๐ คณะ ด้วยกัน คณะที่ ๑ ถึง ๙ ตามลำดับ ได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรม
แล้วสำเร็จอรหันต์ ยังมิได้กลับมาทูลรายงานให้พระเจ้าสุทโธทนะได้ทราบ พระเจ้าสุทโธทนะจึงส่งคณะอำมาตย์ เป็นคณะทูตที่ ๑๐ ไปอีก
คณะทูตที่ ๑๐ นี้ มี "กาฬุทายี" เป็นหัวหน้า ซึ่งเป็นผู้ที่คุ้นเคยและเป็นสหชาติ คือ เกิดวันเดียวกับพระพุทธเจ้า
ก่อนออกเดินทางไปทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า กาฬุทายีทูลลาบวช เมื่อบวชแล้วจะทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าให้เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์ให้จงได้
พระเจ้าสุทโธทนะทรงอนุมัติ

ภายหลังกาฬุทายีได้ไปถึงสำนักพระพุทธเจ้า ได้ฟังธรรมจนสำเร็จอรหันต์ และได้ขอบวชเป็นพระสาวกพร้อมกับบริวารที่ติดตามไปแล้ว
ได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ขณะนั้นเป็นหน้าแล้ง ย่างเข้าหน้าฝน
         
พระพุทธเจ้าทรงรับคำทูลอาราธนาแล้ว พร้อมด้วยพระสาวก ที่ตำนานปฐมสมโพธิบอกว่าจำนวน ๒ หมื่นรูป
เสด็จออกเดินทางเป็นเวลาสองเดือน จึงถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว เสด็จเข้าประทับในอารามของเจ้าศากยะผู้หนึ่ง ซึ่งชื่อว่า "นิโครธ"
ซึ่งพวกเจ้าศากยะพระญาติจัดถวายให้เป็นที่ประทับ อารามในที่นี้ไม่ใช่วัด แต่เป็นสวน เป็นอุทยานอยู่นอกเมือง
พวกพระประยูรญาติรวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะด้วย ได้พากันมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่อารามแห่งนี้
55  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๔๗ ทรงลดทิฐิมานะในหมู่พระญาติ on: August 24, 2009, 11:09:35 am


ภาพที่ ๔๗ ทรงแสดงปาฏิหาริย์เหาะให้เห็น หมู่พระญาติก็สิ้นทิฐิมานะ ถวายบังคมพร้อมกัน

ภาพที่เห็นแสดงถึงเหตุการณ์ตอนหนึ่ง ซึ่งต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้ว
เป็นตอนที่เรียกว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงปาฏิหาริย์ ทำลายทิฐิมานะความถือตัวของพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า

เจ้าศากยะ พระญาติวงศ์ของพระพุทธเจ้าที่เป็นชั้นผู้ใหญ่ ต่างถือองค์ว่าเป็นพระญาติผู้ใหญ่
มีพระชนม์สูงกว่าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นเพียง ๓๖ ปีกว่า ๆ เมื่อมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธาราม
จึงไม่ถวายอภิวาทบังคม คือ ไม่ไหว้พระพุทธเจ้า แต่ส่งเจ้าชายเจ้าหญิงศากยะเยาว์วัยกว่าพระพุทธเจ้าออกไปอยู่แถวหน้า
ให้ไหว้พระพุทธเจ้าแทน ส่วนพวกตนอยู่แถวหลัง ไม่ยอมไหว้

ตำนานปฐมสมโพธิว่า ด้วยเหตุดังกล่าวพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในอากาศ
แล้วโปรยละอองธุลีพระบาทลงเหนือศีรษะของเจ้าศากยะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระสังฆราชเจ้าผู้ทรงรจนาหนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๒ ทรงถอดความตอนนั้นว่า

"ถ้าถือเอาความเพียงว่า พระศาสดาทรงแสดงอนุศาสน์ปาฏิหาริย์ คือ ตรัสเทศนาเป็นมหัศจรรย์ แสดงให้เห็น ให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ทำพวกศากยะเหล่านั้นให้สิ้นมานะ ยอมนับถือความเป็นใหญ่ของพระองค์เหนือตน
ดุจแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ในอากาศ จักพอฟังได้"

พระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งเสด็จมารับเสด็จและเฝ้าพระพุทธเจ้า ทรงเห็นเหตุอัศจรรย์เช่นนั้น
จึงทรงประนมพระหัตถ์อภิวาทพระพุทธเจ้า ฝ่ายพระประยูรญาติทั้งปวงในที่นั้น ก็ต่างหายทิฐิมานะ
แล้วถวายอภิวาทพระพุทธเจ้าพร้อมกันทั่วทุกองค์

ปฐมสมโพธิว่า "ในทันใดนั้นเอง มหาเมฆใหญ่ได้ตั้งเค้าขึ้นมา แล้วหลั่งสายฝนลงมาห่าใหญ่
ฝนนั้นเรียกว่า "โบกขรพรรษ" มีสีแดง ผู้ใดปรารถนาหรือประสงค์ให้เปียก ย่อมเปียก ไม่ปรารถนาให้เปียก ก็ไม่เปียก
โดยเม็ดฝนจะกลิ้งหล่นจากกาย เหมือนหยาดน้ำกลิ้งจากใบบัว"

ถอดความก็ว่า พระญาติทุกพระองค์จากกันกับพระพุทธเจ้าเป็นเวลาช้านาน
มาได้เห็นกันเข้า ก็ชื่นบาน เหมือนได้รับน้ำฝนชุ่มฉ่ำหฤทัย ฉะนั้น
56  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๔๘ เสด็จทรงบาตรในเมือง on: August 24, 2009, 11:08:01 am


ภาพที่ ๔๘ เสด็จทรงบาตรในเมือง พระนางพิมพายโสธราเห็น จึงชี้ให้พระราหุลดูตรัสว่า "นั่นคือบิดาของเจ้า"

เมื่อฝนโบกขรพรรษตากลงมาห่าใหญ่ พระสงฆ์สาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้าครั้งนี้ เห็นเป็นที่อัศจรรย์
จึงสนทนากันด้วยความพิศวงว่า ฝนเช่นนี้ไม่เคยเห็นมาแต่ก่อน พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระสงฆ์ว่า
ฝนโบกขรพรรษตกในสมัยที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้านั้นไม่น่าอัศจรรย์เลย
แต่ที่น่าอัศจรรย์ยิ่งคือ ฝนโบกขรพรรษตกในสมัยที่พระองค์เสวยพระชาติเป็น "พระเวสสันดร"

พระสงฆ์ทั้งปวงใคร่สดับเรื่องราวของพระเวสสันดร จึงทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรื่อง "เวสสันดรชาดก" ตั้งแต่ต้นจนถึงตอนพระเวสสันดรเสด็จนิวัติกลับเข้าเมือง
และเกิดฝนโบกขรพรรษตกลงมาเป็นห่าใหญ่เหมือนคราวนี้ เรื่องเวสสันดรชาดกที่คนไทยผู้นับถือพระพุทธศาสนา
อาราธนาสงฆ์เทศน์ให้ฟังที่เรียกว่า "เทศน์มหาชาติ" ทุกวันนี้นั้น เกิดขึ้นจากพระพุทธเจ้าตรัสเทศนาครั้งนี้ คือ
ในคราวเสด็จโปรดพระประยูรญาติเป็นครั้งแรกนี้เอง ฝ่ายพระประยูรญาติทั้งปวง รวมทั้งพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาด้วย
ต่างถวายบังคมพระพุทธเจ้า แล้วทูลลาเสด็จกลับเข้าเมือง
แต่จะได้มีผู้หนึ่งผู้ใดทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าไปทรงรับอาหารบิณฑบาตที่นิเวศน์ของตนก็หาไม่

รุ่งเช้า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารทั้งหมด จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมือง
ชาวเมืองแตกตื่นกันโกลาหล ด้วยไม่เคยคิดว่า พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นกษัตริย์โดยพระชาติกำเนิด จะเสด็จภิกขา
แปลความหมายให้เป็นภาษาสามัญที่สุภาพหน่อยก็ว่า เที่ยวขอเขากิน

ปฐมสมโพธิรายงานเหตุการณ์ตอนนี้ไว้ว่า
"ในขณะนั้นบรรดามหาชนชาวเมืองจึงว่า พระผู้เป็นเจ้าสิทธัตถะราชกุมารเที่ยวภิกขาจารบิณฑบาต
ดังนั้น ก็ชวนกันเปิดแกลแห่งเรือนทั้งหลายต่าง ๆ อันมีพื้น ๒ ชั้น และ ๓ ชั้น เป็นต้น
แต่ล้วนขวนขวายในกิจที่จะเล็งดูพระสัพพัญญู อันเสด็จเที่ยวบิณฑบาตทั้งสิ้น"
       
แม้ พระนางพิมพา ยโสธรา ผู้เคยเป็นพระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะหรือ พระพุทธเจ้า ซึ่งมีพระทัยไม่เคยสร่างพระโสกี ตลอดมา
ได้ยินเสียงชาวเมืองอื้ออึงถึงเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าเมืองมาตามถนน ก็จูงพระหัตถ์พระราหุลผู้โอรส ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุได้ ๗ ปี
เสด็จไปยังช่องพระแกล ครั้นเห็นพระพุทธเจ้าเสด็จนำหน้าพระสงฆ์มา พระนางก็ทรงชี้ให้ราหุลดู และตรัสบอกโอรสว่า "นั่นคือพระบิดาของเจ้า"

57  ห้องธรรมะศึกษา / เสียงธรรม / ธรรมปฏิบัติ 19 เรื่อง - พระอาจารย์มิตซูโอะ on: August 24, 2009, 06:18:14 am
<a href="http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26466780&amp;path=2009/08/01%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=222222&amp;mycolor2=77ADD1&amp;mycolor3=FFFFFF&amp;autoplay=true&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/" target="_blank">http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26466780&amp;path=2009/08/01%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=222222&amp;mycolor2=77ADD1&amp;mycolor3=FFFFFF&amp;autoplay=true&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/</a>








พระธรรมเทศนา 19 เรื่อง พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม บ้านท่าเตียน
ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค (กม. ๙๐) จ.กาญจนบุรี
58  ห้องธรรมะศึกษา / เสียงธรรม / พระธรรมเทศนา 12 เรื่อง - หลวงพ่อชา on: August 24, 2009, 05:54:57 am
<a href="http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26465410&amp;path=2009/08/01%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=222222&amp;mycolor2=77ADD1&amp;mycolor3=FFFFFF&amp;autoplay=true&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/" target="_blank">http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26465410&amp;path=2009/08/01%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=222222&amp;mycolor2=77ADD1&amp;mycolor3=FFFFFF&amp;autoplay=true&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/</a>



พระธรรมเทศนา โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท 
59  ห้องธรรมะศึกษา / เสียงธรรม / พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน- วศิน อินทสระ on: August 24, 2009, 05:30:24 am

พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน- วศิน อินทสระ
<a href="http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26757775&amp;path=2009/08/01%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=2D2D2D&amp;mycolor2=FFFFFF&amp;mycolor3=77ADD1&amp;autoplay=false&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/" target="_blank">http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26757775&amp;path=2009/08/01%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=2D2D2D&amp;mycolor2=FFFFFF&amp;mycolor3=77ADD1&amp;autoplay=false&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/</a>
กดปุ่ม Play เพื่อเล่น หรือ คลิกดาวโหลดไฟล์ ข้างล่างครับ

01พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน Download
02พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน Download
03พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน Download
04พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน Download


60  ห้องธรรมะศึกษา / เสียงธรรม / บนเส้นทางสีขาว - วศิน อินทสระ on: August 24, 2009, 05:05:26 am
<a href="http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26757492&amp;path=2009/08/01%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=2D2D2D&amp;mycolor2=FFFFFF&amp;mycolor3=77ADD1&amp;autoplay=false&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/" target="_blank">http://assets.myflashfetish.com/swf/mp3/mixpod.swf?myid=26757492&amp;path=2009/08/01%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Equality=%22high%22%20wmode=%22window%22%20bgcolor=%22222222%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eflashvars=%22mycolor=2D2D2D&amp;mycolor2=FFFFFF&amp;mycolor3=77ADD1&amp;autoplay=false&amp;rand=0&amp;f=4&amp;vol=100%3Cbr%20/%3E&amp;pat=0&amp;grad=false%22%20width=%22410%22%20height=%22311%22%20name=%22myflashfetish%22%20salign=%22TL%22%20type=%22application/x-%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Eshockwave-flash%22%20pluginspage=%22http://www.macromedia.com/go/getflashplayer%22%20border=%220%22%20%3Cbr%20/%3E%3Cbr%20/%3Estyle=%22visibility:visible;width:410px;height:311px;%22%20/%3E%3Cbr%3E%3Ca%20href=%22http://www.mixpod.com/playlist/26437272%22%3E[/</a>
เสียงอ่านหนังสือ บนเส้นทางสีขาว - วศิน อินทสระ ให้เสียงโดย อริยาภรณ์ สิทธิธรรมพิชัย

กดปุ่ม Play เพื่อเล่น หรือ คลิกดาวน์โหลดไฟล์ ข้างล่างครับ 
01 บนเส้นทางสีขาว บทนำ สารบัญ Download
02 ธรรมะเพื่อชีวิต Download
03 ชัยชนะ4ประการ Download
04 การแต่งกายและการฝึกตน Download
05 การประคับประคองตนกับการสอนผู้อื่น Download
06 การมัธยัสถ์และการประหยัด Download
07 การทำบุญให้ทานและปัญหาที่ควรทำความเข้าใจให้ถูกต้อง Download
08 กรรมฐานหรือภาวนาเพื่อประโยชน์อะไร Download
09 การสร้างคุณภาพชีวิต Download
10 การควบคุมตนเองเพื่อความสำเร็จในการบริหาร Download
11 กลยุทธ์การเป็นผู้นำ Download

อ้างอิง dhamaforlife.com
61  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๔๙ พระเจ้าสุทโธทนะ เสด็จมาตัดพ้อ on: August 24, 2009, 02:38:44 am


ภาพที่ ๔๙ พระพุทธบิดาทราบข่าว ก็เสด็จมาตัดพ้อ ทูลขอให้เสด็จไปประทับเสวยในวัง

ที่พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดาเสด็จไปรับเสด็จ และเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธาราม พร้อมด้วยพระประยูรญาติ
แล้วไม่ได้ทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าเสด็จไปรับภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ของพระองค์นั้น
ก็ด้วยเข้าพระทัยว่า พระพุทธเจ้าคงไม่เสด็จไปที่อื่น นอกจากพระราชนิเวศน์ของพระองค์

แต่ครั้นทรงทราบจากที่พระนางพิมพาไปทูลว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก
มิได้เสด็จตรงไปยังพระราชนิเวศน์ แต่กลับเสด็จบิณฑบาตไปตามถนนหนทางในเมือง ก็ทรงเสียพระทัยเป็นอันมาก

ปฐมสมโพธิว่า "พระหัตถ์ทรงผ้าสาฎกสะพักพระองค์ เสด็จลงจากพระราชนิเวศน์
บทจรโดยด่วนไปหยุดยืนอยู่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้วกราบทูลว่า.."

"เหตุไฉนพระลูกเจ้าจึงมาเสด็จเที่ยวบิณฑบาตให้เป็นที่อัปยศ ผิดธรรมเนียมของกษัตริย์ขัตติยวงศ์ของเรา
ทำไมจึงไม่เสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์"

พระพุทธเจ้าตรัสบอกพุทธบิดรว่า "ธรรมเนียมการเสด็จภิกขาจารเพื่อบิณฑบาตนี้ มิใช่ธรรมเนียมของขัตติยวงศ์ก็จริง
 แต่ เป็นธรรมเนียมของพุทธวงศ์ (วงศ์ของพระพุทธเจ้า) "

พระพุทธเจ้าตรัสว่า " ธรรมเนียมของผู้สละบ้านเรือนออกบวชเป็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกนั้น
ต้องเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ การบิณฑบาตนั้น เป็นอาชีพอันสุจริตของนักบวชในพุทธวงศ์"

พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระเจ้าสุทโธทนะว่า " พระองค์ทรงขาดจากขัตติยวงศ์แล้ว
ขาดเมื่อตอนเสด็จออกบวชก็หาไม่ ขาดเมื่อคราวบำเพ็ญเพียรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็หาไม่
แต่ขาดเมื่อคราวได้สำเร็จ คือ ภายหลังตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตั้งแต่นั้นมา พระองค์ได้ชื่อว่า ทรงตั้งอยู่ในพุทธวงศ์"
         
พระพุทธเจ้าประทับยืนตรัสพระธรรมเทศนาแก่พระเจ้าสุทโธทนะ
พอจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงบรรลุโสดาปัตติผลในขณะที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง
ครั้นแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะจึงทรงรับบาตร แล้วอาราธนาพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งหมู่อริยสงฆ์บรรษัทไปยังพระราชนิเวศน์เพื่อทรงรับภัตตาหาร

62  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๐ พระพิมพารำพันถึงพระพุทธองค์ on: August 24, 2009, 02:24:29 am


ภาพที่ ๕๐ พระพิมพาพิลาปรำพันถึงพระพุทธองค์ เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดถึงในปราสาท

ภาพที่เห็นอยู่นั้น เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพายโสธรา
ผู้เคยเป็นพระชายา เมื่อสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ คือ เมื่อยังไม่เสด็จออกบวช

วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระนางพิมพานี้ เป็นวันเดียวกับที่เสด็จไปทรงรับภัตตาหารในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา
ดังได้บรรยายไว้แล้ว สถานที่เสด็จไปโปรดพระนางพิมพาคือ ปราสาทที่ประทับของพระนางนั่นเอง
ผู้ที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาในการนี้ มีพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ ผู้สองอัครสาวก และ พระเจ้า สุทโธทนะ

พระนางพิมพาทรงเศร้าโศกเสียพระทัย ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชเป็นต้นมา
ด้วยเข้าพระทัยว่า พระนางถูกพระพุทธเจ้าทรงทอดทิ้ง ยิ่งเมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองกบิลพัสดุ์ครั้งนี้
ความเสียพระทัยยิ่งมีมากขึ้น ขนาดพระเจ้าสุทโธทนะรับสั่งให้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระนางยังเสด็จมาไม่ได้
เจ้าพนักงานฝ่ายในต้องจูงและประคองมา พอมาถึงที่ที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่
พระนางก็ล้มฟุบลง กลิ้งเกลือกพระเศียรลงเหนือพระบาทพระพุทธเจ้า แล้วพิลาปรำพันลงแทบสิ้นสมปฤดี

พระเจ้าสุทโธทนะทูลพระพุทธเจ้าถึงความดีของพระนางพิมพาว่า เป็นสตรีที่จงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้า
ไม่เคยแปรพระทัยเป็นอื่นเลยตลอดเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากไป พระพุทธเจ้าตรัสสนองพระดำรัสของพุทธบิดาว่า
พระนางพิมพาจะได้ทรงซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์แต่เฉพาะในชาตินี้ก็หาไม่ แม้ในอดีตชาติหนหลังอีกหลายชาติ
พระนางก็เป็นคู่ทุกข์คู่ยากผู้ซื่อสัตย์ของพระองค์ตลอดมา แล้วพระพุทธเจ้าตรัสชาดกอีกเป็นอันมากให้พุทธบิดา และพระนางพิมพาฟัง
       
พระนางฟังแล้ว ทรงสร่างโสกและคลายความเสียพระทัย ทรงเกิดปิติโสมนัสในพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง พระนางพิมพายโสธรา ก็ได้ทรงบรรลุเป็นพระโสดาบัน หรือ โสดาปัตติผล
63  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๑ พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ on: August 24, 2009, 02:18:06 am


ภาพที่ ๕๑ พระนันทะรับบาตรส่งเสด็จ นางคู่วิวาห์ร้องสั่งให้รีบกลับ พอถึงวัดกลับชวนให้บวช


ในวันที่ ๕ นับแต่วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงเมืองกบิลพัสดุ์เป็นครั้งแรก
มีพิธีวิวาห์มงคล ระหว่างเจ้าชายศากยะ ที่ชื่อว่า "นันทะ" กับเจ้าหญิงที่มีชื่อว่า "ชนบทกัลยาณี"

นันทะเป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธเจ้า แต่เป็นพระอนุชาต่างมารดา กล่าวคือ
ภายหลังมารดาของพระพุทธเจ้า คือ พระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์ แต่เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติได้ไม่กี่วันแล้ว
พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมี ผู้เป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายาเป็นชายา
นันทะ จึงคือ พระโอรสของพระเจ้าสุทโธ ทนะที่เกิดจากพระนางปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชแล้ว รัชทายาทของพระเจ้าสุทโธทนะจึงตกอยู่แก่นันทะ
พระเจ้าสุทโธทนะทรงหมายพระทัยว่า เมื่อนันทะอภิเษกสมรสแล้ว จะได้ครองราชย์สืบต่อจากพระองค์

ในงานวันวิวาหมงคลนั้น พระพุทธเจ้าจึงทรงได้เสด็จมาตามคำทูลอาราธนาของพระพุทธบิดา
เมื่อทรงฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ ได้ทรงมอบบาตรของพระองค์แก่เจ้าชายนันทะ ทรงถือตามส่งเสด็จ
นันทะทรงดำริว่า เมื่อถึงประตูพระราชนิเวศน์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระเชษฐา จะทรงหันกลับมารับบาตรคืนไปจากตน
แต่ครั้นไปถึงที่นั่น พระพุทธเจ้ามิได้ทรงทำอย่างนั้นเลย
ครั้นนันทะจะมอบบาตรถวายพระพุทธเจ้าก็ไม่กล้า ด้วยเกรงพระทัยผู้ทรงเป็นพระเชษฐา จนไปถึงพระอารามที่ประทับ
พระพุทธเจ้าจึงหันมาตรัสกับพระอนุชาว่า "บวชไหม ?"

นันทะจะปฏิเสธก็เกรงใจพี่ชาย นี่ว่าตามภาษาสามัญ จึงทูลตอบพระพุทธเจ้าว่า "บวชพระเจ้าข้า"

นันทะไม่ได้ยอมบวชด้วยน้ำใสใจจริง เพราะกำลังจะแต่งงาน ทั้งที่ตอนที่จะออกจากพระราชนิเวศน์นำบาตรมาส่งพระพุทธเจ้า
นางชนบทกัลยาณีผู้เป็นเจ้าหญิงคู่อภิเษกสมรส ยังร้องเรียกสั่งตามมาว่า "เจ้าพี่ไปแล้วให้รีบเสด็จกลับ"
แต่ที่ต้องตอบเช่นนั้น ก็เพราะว่าเกรงใจพระพุทธเจ้าดังกล่าวแล้ว


64  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๒ พระราหุลทูลขอราชสมบัติ on: August 24, 2009, 02:13:45 am


ภาพที่ ๕๒ พระราหุลแสดงความซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา จนลืมทูลขอราชสมบัติ

ในวันที่ ๗ นับแต่วันที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์
ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่เจ้าชายนันทะ ผู้เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าได้บวชแล้ว
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกบริวารได้เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาต ในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะอีก

เจ้าชายนันทะเป็นรัชทายาที่สองรองจากพระพุทธเจ้า ที่จะครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะ
แต่เมื่อนันทะออกบวช หรือที่จริงถูกพระเชษฐา คือ พระพุทธเจ้าทรงจับให้บวชเสียแล้ว
รัชทายาทจึงตกอยู่กับราหุลราชกุมาร ผู้เป็น โอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ หรือ พระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา

พระนางพิมพายโสธรา พระมารดาของพระราหุล ทรงเห็นเป็นโอกาสดี เมื่อทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามารับบิณฑบาต
จึงแต่งองค์ให้ราหุลผู้เป็นโอรสงดงามด้วยเครื่องประดับของขัตติยกุมาร แล้วทรงชี้บอกราหุลว่า
"พระสมณะผู้ทรงสง่า มีผิวพรรณเหลืองดั่งทอง มีพระสุรเสียงไพเราะดุจเสียงพรหม
ที่พระสงฆ์สองหมื่นรูปแวดล้อมตามเสด็จ นั่นแหละคือ พระบิดาของเจ้า"

พระนางพิมพาตรัสบอกโอรสให้ไปทูลขอรัชทายาท และทรัพย์สินที่เป็นสมบัติของพระบิดาทั้งหมด
ซึ่งยังมิได้ทรงโอนกรรมสิทธิ์ให้ใครเลย พระนางบอกผู้โอรสว่า ธรรมดาลูกย่อมมีสิทธิ์ที่จะครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เป็นบิดา
         
ในเวลาที่กล่าวนี้ ปฐมสมโพธิบอกว่า ราหุลกุมารมีพระชนมายุได้ ๗ ปี นับตั้งแต่ประสูติมาไม่เคยเห็นองค์ผู้เป็นพระบิดา
เพิ่งได้เห็นเป็นครั้งแรกก็เมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จยังกรุงกบิลพัสดุ์นี่เอง เมื่อได้เห็นและได้เข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด
ราหุลจึงเกิดความรักในพระพุทธเจ้ายิ่งนัก เป็นความรักอย่างลูกจะพึงมีต่อพ่อ
ราหุลกราบทูลพระพุทธเจ้าประโยคหนึ่ง ซึ่งถ้าจะถอดความให้เข้ากับสำนวนไทยก็ว่า "อยู่ใกล้พ่อนี่มีความสุขเหลือเกิน"
แล้วกราบทูลขอรัชทายาท และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติของพระราชบิดา ตามที่พระมารดาทรงแนะนำ

พระพุทธเจ้าไม่ตรัสว่ากระไร ทรงฉันอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนา
แล้วเสด็จกลับไปที่นิโครธารามพร้อมด้วยพระสงฆ์ โดยมีราหุลตามเสด็จเพื่อทูลขอสิ่งที่ทรงประสงค์ดังกล่าวไปด้วย
65  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๓ พระราหุล สามเณรองค์แรก on: August 24, 2009, 02:07:11 am


ภาพที่ ๕๓ ทรงมอบสมบัติพระนิพพานแก่พระราหุล โดยให้บรรพชาเป็นสามเณรองค์แรก

 เมื่อราหุลติดตามพระพุทธเจ้าไปถึงนิโครธาราม เพื่อทูลขอรัชทายาทและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สมบัติของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่า สิ่งที่ราหุลทูลขอนั้นเป็นสมบัติทางโลก ไม่ยั่งยืน เต็มไปด้วยความทุกข์ในการปกปักรักษา
ไม่เหมือนอริยทรัพย์ คือ ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ทรงพระพุทธดำริว่า "จำเราจะให้ทายาทแห่งโลกุตระแก่ราหุล"

พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกพระสารีบุตรมา แล้วรับสั่งให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ ทำหน้าที่บวชสามเณรแก่ราหุล
ราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในทางพระพุทธศาสนา เมื่ออายุครบบวช ต่อมาได้บวชเป็นพระภิกษุ และได้สำเร็จอรหันต์

เมื่อคราวนันทะซึ่งกำลังจะเข้าพิธีวิวาหมงคล แต่ยังไม่ทันได้เข้าพิธี เพราะถูกพระพุทธเจ้าจับบวชเสียก่อนนั้น
พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา ทรงทราบข่าวแล้วเสียพระทัยมาก แต่ก็ไม่สู้กระไรนัก
เพราะยังทรงเห็นว่า ราหุลกุมารรัชทายาทองค์ต่อไปยังมีอยู่ แต่ครั้นทรงทราบว่าราหุลกุมารได้บวชเป็นสามเณรเสียแล้ว
พระเจ้าสุทโธทนะทรงเสียพระทัยมากยิ่งกว่าเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวช และเมื่อนันทะบวช

พระเจ้าสุทโธทนะไม่อาจทรงระงับความทุกข์โทมนัสครั้งนี้ได้ จึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธาราม
แล้วทูลขอร้องพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดจะบวชลูกหลานชาวบ้าน ก็ได้โปรดให้พ่อแม่เขาได้อนุญาตให้ก่อน
เพราะถ้าไม่อย่างนั้น จะทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้เป็นพ่อแม่มาก ดุจที่พระองค์ได้รับ เมื่อพระราหุลบวชในคราวนี้
       
พระพุทธเจ้าทรงรับตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงขอร้อง จึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้เป็นธรรมเนียมสืบมาจนทุกวันนี้ว่า
ถ้า ใครจะบวช ไม่ว่าจะบวชเป็นพระ หรือบวชเป็นสามเณร ต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครองก่อน
ธรรมเนียมกุลบุตรผู้จะบวชที่ถือพานดอกไม้เที่ยวกราบลาพ่อแม่ผู้ปกครอง ตลอดจนญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือทุกวันนี้
จึงเกิดจากกรณีดังกล่าวนี้

66  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๔ ทรงพาพระนันทะไปชมนางฟ้า on: August 24, 2009, 02:02:10 am


ภาพที่ ๕๔ ทรงพาพระนันทะไปชมนางฟ้า พระนันทะใคร่จะได้เป็นชายา ทรงรับรองจะให้สมหวัง

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เป็นเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์แล้ว
ได้เสด็จกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารที่ตามเสด็จ
ในการนี้พระภิกษุนันทะ พระอนุชาผู้ถูกจับให้บวช และราหุลสามเณรก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

ต่อมา พระ พุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์จำนวนมาก ได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศล
ซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอ ๆ กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พระนันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วย
แต่ตลอดเวลานับแต่บวชแล้วเป็นต้นมา พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของสมณะ ใจให้รุ่มร้อนคิดจะลาสึกอยู่ท่าเดียว
เพราะความคิดถึงนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวคู่หมั้นซึ่งกำลังจะเข้าพิธิวิวาห์กับตน

ความเรื่องนี้ทราบถึงพระพุทธเจ้า อรรถกถาท่านเขียนเรื่องตอนนี้เป็นปุคคลาธิษฐาน (วิธีแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นอ้าง) ว่า

พระพุทธเจ้าจึงพาพระนันทะไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ระหว่างทาง ทรงชี้ให้พระนันทะดูนางลิงลุ่นตัวหนึ่ง
ซึ่งนั่งอยู่บนตอไม้ในทุ่งนาชายป่าแห่งหนึ่ง นางลิงลุ่น คือ ลิงตัวเมียหูขาดจมูกแหว่ง
จากนั้น เมื่อถึงสวรรค์ พระพุทธเจ้าทรงชี้ให้พระนันทะดูสาวสวรรค์ ที่แต่ละนางมีฝ่าเท้าแดงเหมือนเท้านกพิราบ
และสวยยิ่งกวาสาวชาวโลกมนุษย์หลายเท่า

"นันทะ ระหว่างนางชนบทกัลยาณี เจ้าสาวของเธอ กับสาวสวรรค์เหล่านี้ ใครสวยกว่ากัน" พระพุทธเจ้าตรัสถาม

พระนันทะทูลตอบพระพุทธเจ้าว่า "เวลานี้นางชนบทกัลยาณีเหมือนนางลิงลุ่นตัวนั้น"

ถอดความที่กล่าวให้เห็นก็คือ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้นันทะเห็นแจ้งว่า ความรัก ความสวย ไม่มีที่สิ้นสุด
ที่ยึดถือว่า สิ่งนี้สวย และน่ารัก ก็เพราะยังไม่เห็นสิ่งที่สวยและน่ารักกว่า
       
พอนันทะฟังแล้วเกิดเบื่อหน่ายคลายความรัก และความยินดีในความสวย ตั้งใจปฏิบัติธรรม ไม่ช้าก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


67  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๕ พระเทวทัตสำแดงฤทธิ์ on: August 24, 2009, 01:57:23 am


ภาพที่ ๕๕ พระเทวทัตสำแดงฤทธิ์ให้อชาตศัตรูราชกุมารเลื่อมใส เพื่อให้รับเป็นโยมอุปัฏฐาก

การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพระพุทธเจ้าครั้งแรก ดังได้บรรยายมาแล้วนั้น
เป็นเหตุให้เจ้าชายศากยะเสด็จออกบวชกันมาก ในจำนวนนั้นที่มีชื่อเสียงและมีคนรู้จักกันดี
จนถึงทุกวันนี้ก็คือ "เจ้าชายอานนท์" หรือ "พระอานนท์"
ในเวลาต่อมา นายภูษามาลา ชื่อ อุบาลี หรือ พระอุบาลี และ เจ้าชายเทวทัต

เทวทัตเป็นพระเชษฐา หรือพี่ชายของพระนางพิมพายโสธรา
ว่ากันอย่างสามัญ เทวทัต ก็คือพี่เมียของเจ้าชายสิทธัตถะ หรือ พระพุทธเจ้า
ในเวลาต่อมา ทุกคนที่ออกบวชพร้อมกันกับเทวทัต ต่างได้บรรลุมรรคผลในเวลาต่อมาทั้งนั้น
แต่เทวทัตได้สำเร็จเพียงฌานชั้นโลกีย์ ฌานชั้นนี้ทำให้ผู้ได้สำเร็จ แสดงอิทธิฤทธิ์ได้ เหาะก็ได้

ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์จำนวนมากรวมทั้งพระเทวทัตด้วย เสด็จไปถึงกรุงโกสัมพี
ชาวเมืองได้พากันออกมารับเสด็จ และนำของมาถวายเป็นอันมาก ถวายของแด่พระพุทธเจ้าแล้วก็ถวายพระสงฆ์
แต่ละคนเที่ยวถามไถ่กันว่า "พระสารีบุตรของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน พระโมคคัลลานะของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน ฯลฯ "
เมื่อทราบแล้วก็นำของไปถวาย แต่ไม่มีใครสักคนที่จะเอ่ยชื่อของพระเทวทัตว่า "พระเทวทัตของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน"

นั่นคือความไม่พอใจของพระเทวทัต ที่เป็นสาเหตุให้พระเทวทัตก่อกรรม หรือกระทำการรุนแรงในเวลาต่อมา

พระเทวทัตเข้าฌานโลกีย์ เนรมิตเป็นกุมารหนุ่มน้อย ใช้งูพิษร้าย ๗ ตัว พันเป็นสังวาลตามตัว
ตัวหนึ่งพันหัวต่างผ้าโพก อีกสี่ตัวพันข้อมือข้อเท้า อีกตัวหนึ่งพันคอ และอีกตัวหนึ่งทำเป็นสังวาลเฉวียงบ่า
เหาะเข้าไปในวัง ลงนั่งบนพระเพลาของอชาตศัตรูผู้เป็นมกุฏราชกุมาร และพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ
เทวทัตได้แนะนำให้อชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์เสีย
ส่วนตัวเองจะปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า แล้วจะตั้งตัวเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ ประกาศศาสนาใหม่
       
เวลาไปเฝ้าเจ้าชายอชาตศัตรู พระเทวทัตเหาะไป แต่ขากลับพระเทวทัตเหาะไม่ไหว ต้องเดินกลับ
เพราะใจอกุศลเกิดขึ้น ฌานโลกีย์เลยเสื่อมตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
68  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๖ พระเทวทัตส่งนายขมังธนูไปฆ่า on: August 24, 2009, 01:52:07 am


ภาพที่ ๕๖ นายขมังธนูซึ่งพระเทวทัตส่งไปฆ่าพระพุทธองค์ ปลงอาวุธฟังธรรม สำเร็จมรรคผล

บุรุษที่นั่งประนมมือวางคันธนูไว้กับพื้นอยู่เบื้องหน้าพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า
ดังที่ปรากฎอยู่ในภาพแสดงนั้น คือ นายขมังธนู "ขมัง" (อ่านว่า ขะ - หมัง) แปลว่า นายพราน
ขมังธนู ก็คือ นายพรานแม่นธนู อาวุธร้ายแรงที่คนใช้ยิงสังหารกันในสมัยพระพุทธเจ้า คือ ธนู

พระเทวทัตแนะนำอชาตศัตรู มกุฎราชกุมารให้ปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารพระราชบิดาของพระองค์แล้ว
จึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมาประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์
พระเทวทัตกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าทรงพระชราแล้ว ขอให้ทรงมอบตำแหน่งกิจการบริหารคณะสงฆ์ให้แก่ตนเสีย
เลยถูกพระพุทธเจ้าทรงทักด้วย เขฬาสิกวาท

(เขฬาสิกวาท แปลตามตัวว่า ผู้กลืนกินก้อนน้ำลาย ก้อนเสลด ที่บ้วนทิ้งแล้ว คือ กลืนน้ำลายตัวเองน่ะแหละ)
ความหมาย ก็คือ นักบวชนั้น เมื่อออกบวช ได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละแล้วซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง
เช่น ลูก เมีย ทรัพย์ และตำแหน่งฐานันดรต่าง ๆ พระเทวทัต ก็ ชื่อว่า สละสิ่งเหล่านี้เสียแล้วเมื่อตอนออกบวช
แต่เหตุไฉน จึงย้อนกลับมายอมรับ ซึ่งเท่ากับมาขอกลืนกินสิ่งเหล่านี้อีก

พระเทวทัตฟังแล้วเสียใจ ผูกความอาฆาตพระพุทธเจ้ายิ่งขึ้น
จึงวางแผนการกระทำการรุนแรง เพื่อปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าหลายแผน

เฉพาะด้านการเมืองนั้น พระเทวทัตได้ทำสำเร็จแล้ว ด้วยการเกลี้ยกล่อมอชาตศัตรูราชกุมารให้เลื่อมใสตนได้
แล้วราชกุมารผู้นี้ได้ปลงพระชนม์พระราชบิดา จนในที่สุดได้ขึ้นครองราชย์ในเวลาต่อมา
ที่ยังไม่สำเร็จคือ การปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า

ขั้นแรก พระเทวทัตได้ว่าจ้างพวกขมังธนูหลายคน ล้วนแต่มือแม่นในการยิงธนูทั้งนั้น
ไปลอบยิงสังหารพระพุทธเจ้าที่วัดเวฬุวนารามในกรุงราชคฤห์ ทั้งนี้โดยพระเจ้าอชาตศัตรูทรงรู้เห็นด้วย
แต่เมื่อพวกนายขมังธนูถืออาวุธมาถึงวัดที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดมือไม้อ่อนเปลี้ยไปหมด
ยิงไม่ลง เพราะพุทธานุภาพอันน่าเลื่อมใส ข่มใจให้สยบยอบลง จึงต่างวางคันธนูแล้วกราบพระบาทพระพุทธเจ้า
     
พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้พวกนายขมังธนูฟัง ฟังจบแล้ว นายขมังธนูต่างได้สำเร็จโสดาหมดทุกคน



69  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๗ พระเทวทัตถูกธรณีสูบ on: August 24, 2009, 01:44:08 am


ภาพที่ ๕๗ พระเทวทัตได้สำนึกในความผิดของตน ใคร่ทูลขอขมา แต่ถูกธรณีสูบเสียก่อนเข้าเฝ้า

เมื่อแผนการของพระเทวทัตในการปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าชั้นแรก คือ จ้างนายขมังธนูลอบสังหารได้ล้มเหลวลง
พระเทวทัตจึงลงมือทำเอง คือ แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ เพราะพระเทวทัตทราบได้แน่นอนว่า
ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่เชิงเขาเบื้องล่าง พระเทวทัตจึงกลิ้งก้อนหินใหญ่ลงมา หมายให้ทับพระพุทธเจ้า
ก้อนหินเกิดกระทบกันแล้วแตกเป็นก้อนเล็ก ก้อนน้อย สะเก็ดหินก้อนหนึ่งกระเด็นปลิวมากระทบพระบาทพระพุทธเจ้า
จนทำให้พระโลหิตห้อขึ้น (โลหิตุปบาท)

แผนการที่สองล้มเหลวลงอีก ต่อมา พระเทวทัตได้แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรู
สั่งเจ้าพนักงานเลี้ยงช้าง ปล่อยฝูงช้างดุร้ายออกไปไล่เหยียบพระพุทธเจ้า ในขณะที่เสด็จบิณฑบาต
แต่ก็ล้มเหลวลงอีก เพราะฝูงช้างไม่กล้าทำร้ายพระพุทธเจ้า

ตอนนี้เอง ความชั่วของพระเทวทัตเป็นข่าวแดงโร่ออกมา ประชาชนชาวเมืองต่างโจษจันกันเซ็งแซ่ว่า
ผู้จ้างนายขมังธนูก็ดี ผู้ กลิ้งก้อนหินกระทบพระบาทพระพุทธเจ้าก็ดี ผู้ปล่อยขบวนช้างก็ดี
(ในหลายที่ว่า ปล่อยช้างตัวเดียว เป็นช้างพลายเพศผู้ ชื่อ นาฬาคีรี กำลังตกมัน แล้วยังถูกมอมเหล้าถึง ๑๖ หม้อ)
แม้ที่สุดพระเจ้าพิมพิสารที่เสด็จสวรรคตก็ดี เป็นแผนการของพระเทวทัตทั้งสิ้น
แล้วต่างก็วิพากษ์วิจารณ์ว่า พระราชาของเราคบพระที่ลามกเช่นนี้เอง จึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงได้ยินเสียงชาวเมืองตำหนิเช่นนั้น ทรงเกิดความละอายพระทัย
ทรงยกเลิกไปหาพระเทวทัต สำรับกับข้าวของหลวงที่เคยพระราชทานให้พระเทวทัต ก็ทรงสั่งให้เลิกนำไปถวาย
คนในเมืองนั้นไม่มีใครใส่บาตรให้พระเทวทัตเลย แต่พระเทวทัตก็ยังไม่สิ้นมานะทิฐิ
ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอให้ทรงปฏิรูปศาสนาพุทธเสียใหม่ เช่น ให้ห้ามพระสงฆ์ฉันเนื้อและปลา เป็นต้น
แต่ถูกพระพุทธเจ้าปฏิเสธ พระเทวทัตจึงตั้งคณะสงฆ์ขึ้นใหม่ แล้วสถาปนาตนขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง
       
แต่ต่อมา สาวกของพระเทวทัตที่เข้าใจผิด และไปเข้าข้างพระเทวทัต ได้พากันหนีกลับมาหาพระพุทธเจ้า
เหลืออยู่กับพระเทวทัตไม่กี่รูปพระเทวทัตเสียใจมาก กระอักเลือดออกมา
พอรู้ว่าตนจะตายก็สำนึกผิด เลยใช้สาวกที่เหลืออยู่หามตนมาเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาเป็นครั้งสุดท้าย แต่ไม่ทันเข้าเฝ้า
เพราะพอมาถึงสระน้ำท้ายวัด พระ เทวทัตเกิดอยากอาบน้ำ พอหย่อนเท้าลงเหยียบพื้นสระโบกขรณี เลยถูกแผ่นดินสูบเสียก่อน
70  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๘ เหตุที่ไม่ทรงรับผ้าถวาย on: August 24, 2009, 01:34:00 am


ภาพที่ ๕๘ พระแม่น้าทูลถวายผ้า โปรดให้ถวายอชิตภิกขุ ซึ่งต่อไปจะตรัสรู้เป็นพระศรีอาริย์

ตามหลักฐานที่ปรากฎอยู่ในตำราศาสนาพุทธทั่วไป
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราชั้นอรรถกถาที่แต่งขึ้นโดยนักเขียนรุ่นหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว
ปรากฎว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์หลายครั้ง ที่เห็นอยู่ในภาพสาธกนั้น ก็เป็นตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์

ปฐมสมโพธิว่าเป็นการเสด็จครั้งที่สอง สตรีที่นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์นั้น คือ พระนางปชาบดีโคตมี
ซึ่งมีฐานันดรศักดิ์เป็นพระน้านางของพระพุทธเจ้า เพราะพระนางเป็นน้องสาวแม่ของพระพุทธเจ้า นี่ว่าอย่างสามัญ
เมื่อพระนางสิริมหามายาสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงได้พระนางปชาบดีโคตมีนี้เป็นชายา

ตามท้องเรื่องว่า พระนางปชาบดีโคตมี ทรงดำริเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรกนั้น
พระนางไม่ได้ถวายอะไรแก่พระพุทธเจ้าเลย คราวนี้พระนางจึงนำผ้าสาฎก ๒ ผืน ยาว ๑๔ ศอก กว้าง ๗ ศอก เสมอกัน ไปถวายพระพุทธเจ้า
ปฐมสมโพธิว่า ฝ้ายนั้นมีสีเหลืองดั่งทอง โดยพระนางปลูกต้นฝ้ายเอง ฝ้ายออกดอกมาเป็นสีเหลืองหม่น
เสร็จแล้วทอเองจนสำเร็จเป็นผืน แล้วใส่ผอบทองนำไปถวายพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับ พระนางเสียพระทัย จึงไปหาพระอานนท์เล่าความให้ฟัง
พระอานนท์จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้ทรงรับ พระพุทธเจ้าก็ไม่ทรงรับ ทรงชี้บอกพระนางให้นำไปถวายพระสงฆ์
แต่ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดยอมรับอีก มีอยู่องค์เดียวเท่านั้นที่นั่งอยู่หางแถวอาสน์สงฆ์สุดยอมรับ
ท่านเป็นพระบวชใหม่ นามว่า "อชิต" ยังเป็นพระปุถุชน แต่ในอนาคตปฐมสมโพธิว่า อชิตภิกษุนี้ คือ พระศรีอาริย์
ซึ่งจะเสด็จมาตรัสรู้เพื่อเป็นพระพุทธเจ้าโปรดโลกสืบไป

ที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงรับผ้าของพระนางปชาบดีโคตมี เพราะทรงต้องการจะยกย่องความดีของพระสงฆ์สาวกให้เห็นว่า
แม้เพียงพระบวชใหม่ทรงศีล ก็ควรแก่การรับของทำบุญของพุทธศาสนิกชน
เพราะถ้าไม่ทรงทำให้เห็นอย่างนี้ ใคร ๆ ก็จะถือว่า ทำบุญกับพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงจะได้บุญ
แล้วเมื่อพระพุทธเจ้านิพพานล่วงไปแล้ว พระสงฆ์สาวกก็จะทรงลำบากเพราะทัศนะดังกล่าว
71  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๕๙ พระปางห้ามญาติ on: August 24, 2009, 01:06:50 am


ภาพที่ ๕๙ ทรงห้ามพระญาติฝ่ายพระบิดากับฝ่ายพระมารดา ซึ่งแย่งกันทดน้ำเข้านา มิให้วิวาทกัน

ภาพที่เห็นอยู่นั้น แสดงถึงเหตุการณ์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าเสด็จกลับเมืองพระญาติ แต่คราวนี้เสด็จมาลำพังพระองค์เดียว
เสด็จมาเพื่อทรงระงับสงครามระหว่างพระญาติทั้งสองฝ่าย พระญาติฝ่ายหนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธบิดา ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์
อีกฝ่ายหนึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพุทธมารดา ปกครองโกลิยนคร หรือ เทวหนคร ก็เรียก

ทั้งสองฝ่ายตั้งบ้านเรือนอยู่คนละริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี แล้วเกิดพิพาทกันในปัญหาเรื่องน้ำที่ทดขึ้นทำนา
เมื่อฝ่ายอยู่ทางเหนือน้ำทดน้ำจากแม่น้ำเข้านา ฝ่ายทางใต้ก็ขาดน้ำ ทั้งสองฝ่ายเปิดประชุมเพื่อตกลงกันก่อน แต่ก็ตกลงกันไม่ได้
จึงเกิดปะทะคารมกันอย่างรุนแรง ถึงกับขุดบรรพบุรุษขึ้นมาประณามกัน

"ไอ้พวกสุนัขจิ้งจอกสมสู่กันเอง" ฝ่ายที่ถูกด่าว่าอย่างนี้ เพราะต้นสกุลหลายชั่วคนมาแล้ว ได้อภิเษกสมรสกันระหว่างพี่ชายกับน้องสาว

"ไอ้พวกขี้เรื้อน" ฝ่ายตรงข้ามที่ถูกด่าตอบอย่างนี้ ก็เพราะต้นสกุลเป็นโรคเรื้อน ถูกเนรเทศออกนอกเมืองไปอยู่ป่า

ทั้งสองฝ่ายเตรียมกำลังคน คือ กำลังทหารและอาวุธจะเข้าห้ำหั่นกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า จึงเสด็จมาทรงระงับสงคราม
ทรงประชุมพระญาติทั้งสองฝ่าย แล้วทรงซักถามถึงต้นตอของตัวปัญหา

พระพุทธเจ้า "ทะเลาะกันเรื่องอะไร"
พระญาติ " เรื่องน้ำ พระพุทธเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้า " ระหว่างน้ำ กับชีวิตคนนี่ อย่างไหนจะมีค่ามากกว่ากัน"
พระญาติ "ชีวิตคนมากกว่า พระพุทธเจ้าข้า"

พระพุทธเจ้า " ควรแล้วหรือ ที่ทำอย่างนี้"
พระญาติดุษณียภาพทุกคน ไม่มีใครกราบทูลเลย

พระพุทธเจ้า " ถ้าเราตถาคตไม่มาที่นี่ในวันนี้ ทะเลเลือดจะไหลนอง" (โลหิตนที ปวัตติสสติ)

พระญาติทั้งสองฝ่ายเลยเลิกเตรียมทำสงครามกัน เหตุการณ์ตอนนี้เป็นบทบาทสำคัญตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า
เพราะเห็นความสำคัญนี้ คนรุ่นต่อมาจึงสร้างพระพุทธรูปปางหนึ่งเป็นอนุสรณ์ที่เรียกว่า "พระปางห้ามญาติ" นั่นเอง
72  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / งูน่ารัก on: August 23, 2009, 11:53:59 pm
73  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / สีกามาแล้ว on: August 23, 2009, 11:39:04 pm
74  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / อร่อย on: August 23, 2009, 11:36:11 pm
75  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / รวย & จน on: August 23, 2009, 11:35:30 pm
76  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / โชคดี on: August 23, 2009, 11:34:17 pm
77  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / ผีหลอก !! on: August 23, 2009, 11:32:41 pm
78  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / เอาไงกันแน่ on: August 23, 2009, 11:30:34 pm
79  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / อย่าหาเงิน on: August 23, 2009, 11:28:38 pm
80  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / เกมออนไลน์ on: August 23, 2009, 11:26:27 pm
81  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / ปิ๊งคนละแบบ on: August 23, 2009, 11:24:37 pm
82  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / ย.ยุงยุ่งจัง on: August 23, 2009, 11:20:10 pm
83  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / หลวงพี่อ้วนเพียรสู้ on: August 23, 2009, 11:16:15 pm
84  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / หลวงพ่อคง on: August 23, 2009, 11:14:44 pm
85  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / ธรรมะในออฟฟิศ on: August 23, 2009, 11:06:00 pm
86  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๐ พระพุทธบิดาประชวร เสด็จโปรด on: August 23, 2009, 10:00:54 pm


ภาพที่ ๖๐ พระพุทธบิดาประชวร เสด็จโปรด กระทั่งสำเร็จพระอรหันต์แล้วนิพพาน

ในปีที่ ๕ นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา กำหนดเวลานี้ว่าตามปฐมสมโพธิ พระพุทธเจ้าเสด็จพระทับอยู่ที่ป่ามหาวัน ใกล้กรุงไพศาลี
ได้ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พุทธบิดาทรงพระประชวรหนัก ด้วยพระโรคชรา
ทรงปรารถนาจะได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ตลอดถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นเจ้าศากยะ และพระญาติอีกหลายรูปที่เสด็จออกบวชตามพระพุทธเจ้า
เช่น พระอานนท์ พระนันทะ และสามเณรราหุลผู้เป็นหลาน

พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งพระอานนท์ให้แจ้งข่าวพระสงฆ์ ถึงเรื่องที่พระองค์จะเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์อีกวาระหนึ่ง

ธรรมเนียมการเสด็จจาริกทางไกลของพระพุทธเจ้ามีอยู่อย่างหนึ่งคือ
ก่อนเสด็จจะรับสั่งพระสงฆ์ที่อยู่ใกล้ชิดให้บอกข่าวพระสงฆ์ทั้งมวลว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จทางไกล ที่นั่น ที่นี่ เวลานั้น เวลานี้
พระสงฆ์รูปใดจะตามเสด็จก็จะได้เตรียมข้าวของอัฐบริขารไว้พร้อม

การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของพระพุทธเจ้า เพื่อทรงเยี่ยมพุทธบิดาที่ทรงประชวรครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นครั้งสุดท้าย

เมื่อเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ได้เสด็จเข้าเยี่ยมพุทธบิดา ซึ่งมีพระอาการเพียบหนักแล้ว
ทรงแสดงธรรมโปรดพุทธบิดาด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร ปฐมสมโพธิ บันทึกพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าครั้งนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า


"ดูกร มหาบพิตร อันว่าชีวิตแห่งมนุษย์ทั้งหลายนี้ น้อยนักดำรงอยู่ โดยพลันมิได้ยั่งยืนอยู่ช้า คุรุวนา ดุจสายฟ้าแลบอันปรากฎมิได้นาน....."

พระเจ้าสุทโธทนะ ซึ่งทรงสำเร็จอนาคามีผลอยู่ก่อนแล้ว ได้สดับพระธรรมเทศนา ตั้งแต่ต้นจนจบ
ก็ได้สำเร็จอรหันต์ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ หลังจากนั้นอีก ๗ วัน ก็สิ้นพระชนม์
       
พระพุทธเจ้าเสด็จสรงน้ำพระศพพุทธบิดา และถวายพระเพลิง พร้อมด้วยพระสงฆ์ พระประยูรญาติ ชาวศากยะทั้งมวลจนเสร็จสิ้น

87  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๑ พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ขอบวช on: August 23, 2009, 09:55:35 pm


ภาพที่ ๖๑ พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี นำนางกษัตริย์บริวารไปทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุณี

ภายหลังพระเจ้าสุทโธทนะสิ้นพระชนม์แล้วไม่นาน
พระนางปชาบดีโคตมี พระน้านางของพระพุทธเจ้า หรือนัยหนึ่งพระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะ พร้อมด้วยนางกษัตริย์ผู้บริวาร
ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นยังเสด็จประทับอยู่ที่นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อทูลขอบวช

พระนางทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ธรรมดาสตรีจะบวชในพระพุทธศาสนาได้ (อย่างบุรุษ) หรือไม่ ?
พระพุทธเจ้าทรงตอบบ่ายเบี่ยงว่า อย่าได้มายินดีในการบวชเลย ทรงตอบอย่างนี้ถึงสามครั้ง

หลังจากนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จกลับกรุงไพศาลี พระนางปชาบดีโคตมีพร้อมด้วยบริวารได้ตามเสด็จไปอีก
คราวนี้ทุกคนต่างปลงผม นุ่มห่มผ้าย้อมฝาดอย่างนักบวช เข้าไปทูลขอบวชกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธอีก

พระนางจึงเข้าไปขอพึ่งพระบารมีพระอานนท์ เพื่อให้กราบทูลพระพุทธเจ้าให้ทรงอนุญาต
พระอานนท์จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลขอร้องพระพุทธเจ้าให้ทรงอนุญาต ให้พระนางปชาบดีโคตมี และบริวารได้บวชเป็นนางภิกษุณี

พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธถึง ๓ ครั้ง ในที่สุดจึงทรงอนุญาตอย่างมีเงื่อนไขว่า
ถ้าพระนางปชาบดีโคตมียอมรับคุรุธรรม ๘ ข้อ ได้ ก็จะให้บวชเป็นนางภิกษุณี

ครุธรรม คือ หลักการเบื้องต้นสำหรับสตรีที่จะบวชเป็นนางภิกษุณี เช่นว่า
สตรีบวชเป็นนางภิกษุณีแล้ว แม้จะมีพรรษาตั้งหนึ่งร้อย ก็จะต้องกราบไหว้พระภิกษุซึ่งเพิ่งบวชใหม่ในวันนั้น ,
จะต้องรักษาศีล ๖ ข้อ ไม่ให้ขาดอยู่จนครบ ๒ ปีก่อน จึงจะบวชได้ ฯลฯ เป็นต้น
         
พระนางปชาบดีโคตมีมีศรัทธาแรงกล้ามาก จึงยอมรับ และได้บวชเป็นนางภิกษุณีคนแรกในศาสนาพุทธ
แต่คณะสงฆ์ภิกษุณีก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะมีหลักฐานเชื่อได้ว่า สูญสิ้นไปก่อนพระพุทธเจ้านิพพานด้วยซ้ำไป
เหตุผลก็เพราะบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้น เป็นดุจกำแพงล้อมนางภิกษุณีนั้น เข้มงวดกว่าฝ่ายภิกษุหลายเท่า
จนคนไม่มีศรัทธาจริง ๆ จะบวชอยู่ไม่ได้เลย

88  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๒ ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ on: August 23, 2009, 09:50:14 pm


ภาพที่ ๖๒ ทรงสำแดงยมกปาฏิหาริย์ข่มพวกเดียรถีย์ ที่ต้นมะม่วงคัณฑามพฤกษ์

ภาพที่เห็นนั้น เป็นตอนพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ แคว้นโกศล ในวันเพ็ญกลางเดือนแปด ก่อนวันเข้าพรรษาหนึ่งวัน

ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงให้คนเห็นเป็นอัศจรรย์ ซึ่งสามัญชนหรือคนที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อนแสดงไม่ได้
มีตั้งแต่อย่างต่ำ เล่นกล หรือที่เรียกว่า แสดงปาหี่ ขึ้นไปจนถึงเดินบนน้ำ ดำดิน ลุยไฟ กลืนกินตะปู ที่พวกฤาษีแสดง
ตลอดถึงการเหาะเหินเดินอากาศที่ผู้มีฤทธิ์แสดง ปุถุชนแสดงได้ พระอรหันต์ผู้ได้ฌานได้ฤทธิ์ก็แสดงได้

ยมก แปลว่า คู่ หรือ สอง ยมกปาฏิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ
คือ เวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระกายเบื้องล่าง เป็นต้น

ยมกปาฏิหาริย์แสดงได้แต่ผู้เดียว คือ ผู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
ส่วนพระอรหันตสาวก และเดียรถีย์ ฤาษีชีไพร แสดงได้แต่ปาฏิหาริย์ธรรมดา เช่น เดินบนน้ำ ดำดิน เป็นต้น

สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ครั้งนี้ คือ ที่โคนต้นมะม่วง หรือ คัณฑามพฤกษ์ ในเมืองสาวัตถี
มูลเหตุที่ทรงแสดงคือ เพราะ พวกเดียรถีย์นักบวชนอกศาสนาพุทธ ท้าพระพุทธเจ้าแข่งแสดงปาฏิหาริย์ ว่า ใครจะเก่งกว่ากัน
พวกเดียรถีย์ทราบว่า พระพุทธเจ้าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วง จึงให้สาวกและชาวบ้านที่นับถือพวกตน จัดการโค่นต้นมะม่วงเสียสิ้น
ทราบว่าบ้านใคร สวนใครมีต้นมะม่วง ก็ใช้อิทธิพลทางการเงินซื้อ แล้วโค่นทำลายหมด แม้หน่อมะม่วงที่เกิดในวันนั้นก็ทำลายไม่เหลือ

แต่พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์ที่โคนต้นมะม่วงจนได้ โดยมีผู้นำผลมะม่วงสุกมาถวาย
ทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้คนปลูกเมล็ดลงดิน แล้วพระองค์ทรงใช้น้ำที่ล้างพระหัตถ์รด
ปรากฎว่าหน่อมะม่วงโตพรวดพราด แตกกิ่งก้านสูงถึง ๕๐ ศอก ผลที่สุดพวกเดียรถีย์พ่ายแพ้ไป
         
เรื่องการแสดงยมกปาฏิหาริย์ เป็นเรื่องที่นักเขียนในศาสนาพุทธเขียนขึ้น เพื่อยกย่องพระพุทธเจ้าข่มพวกเดียรถีย์ ต้องฟังอย่างนิยาย
มองดูพระพุทธเจ้าอย่างในฐานะเป็นเทพเจ้า และอ่านเจตนาของคนเขียน จึงจะเข้าใจ

89  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๓ ทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดา on: August 23, 2009, 09:44:22 pm


ภาพที่ ๖๓ แล้วเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อโปรดพระพุทธมารดา

 ภายหลังทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์เสร็จสิ้น จนพวกเดียรถีย์ที่มาท้าแข่งพ่ายแพ้ไปแล้ว
พระพุทธเจ้าทรงมีพุทธดำริถึงจารีตธรรมเนียมของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อนว่า
เมื่อทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์แล้ว เสด็จทรงจำพรรษา ณ ที่ใด ก็ทรงทราบได้ด้วยพุทธญาณว่า ทรงจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ปฐมสมโพธิลำดับการเสด็จจำพรรษาของพระพุทธเจ้าไว้ว่า ในพรรษาที่ ๗ (นับแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ตามนิยายท้องเรื่องทั้งจากปฐมสมโพธิ และข้อเขียนโดยนักเขียนทางศาสนาพุทธอื่น ๆ ยุคหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว
ที่เรียกกันว่า "อรรถกถา" กล่าวตรงกันว่า เหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ก็เพราะทรงต้องการจะแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา คือ พระนางสิริมหามายา ซึ่งเมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว เสด็จบังเกิดที่สวรรค์ชั้นดุสิต

พระ พุทธเจ้าเสด็จประทับจำพรรษา ที่โคนต้นปาริฉัตร ต้นไม้สวรรค์ มีผู้แปลกันว่า ได้แก่ ต้นทองหลาง ผิดถูกอย่างไรไม่ทราบ
ภายใต้ต้นไม้สวรรค์นี้มีแท่นแผ่นหิน ปูลาดดั้วยผ้ากัมพลสีแดง เรียกว่า "บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์"

พระอินทร์จอมเทพได้ทรงทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงจำพรรษาที่นี้ ก็ทรงป่าวประกาศหมู่เทพยดาในสรวงสวรรค์ให้มาร่วมชุมนุม
เพื่อฟังธรรมพระพุทธเจ้า ปฐมสมโพธิว่า เสียงป่าวประกาศของพระอินทร์นั้น ดังปกแผ่ทั่วไปในสกลเทพยธานีทั้งหมื่นโยชน์
เทพเจ้าทั้งปวงได้สดับ ก็บังเกิดโสมนัสพิศวง ต่างองค์ร้องเรียกซึ่งกันและกัน ต่อ ๆ กันไป จนถึงหมื่นจักรวาล
       
แม้พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา ซึ่งทรงอยู่ในเพศเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดุสิต ก็ได้เสด็จมาฟังธรรมพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงแสดงอภิธรรมโปรดพุทธมารดาตลอดพรรษา พุทธมารดาได้สดับแล้ว ทรงบรรลุโสดาปัตติผลในที่สุด
ส่วนเทพนอกนั้นอีกจำนวนมาก ได้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยแห่งตน

90  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๔ เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ on: August 23, 2009, 09:38:06 pm


ภาพที่ ๖๔ ถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยบันไดแก้ว บันไดทอง บันไดเงิน

ภาพที่เห็นนั้น เป็นตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คือ จากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เมื่อภายหลังเสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดังกล่าว เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดาแล้ว

วันที่เสด็จลง คือ วันออกพรรษา เมืองที่เสด็จลง คือ เมือง สังกัสนคร เสด็จลงตรงประตูเมือง
พระบาทแรกที่ทรงเหยียบพื้นโลกนั้น ต่อมาได้กลายเป็นสถานที่ระลึก เรียกว่า "อจลเจดีย์"
เรียกอย่างไทยเราก็ว่า "รอยพระพุทธบาท" ตามตำนานว่า ที่นี่ เป็นที่แห่งหนึ่งที่มีรอยพระพุทธบาท ปรากฎอยู่

ก่อนพระพุทธเจ้าเสด็จลง เทพเจ้า คือ พระอินทร์ ได้เนรมิตบันได ๓ บันได เป็นที่เสด็จลง คือ บันไดทอง บันไดเงินและ บันไดแก้วมณี
บันไดทองสำหรับหมู่เทพเจ้าลง อยู่ด้านขวา บันได้เงินอยู่ด้านซ้ายสำหรับท้าวมหาพรหม และบันไดแก้วมณี อยู่ตรงกลาง สำหรับพระพุทธเจ้า
หัวบันไดแต่ละอันพาดที่เขาสิเนรุ เชิงบันไดทอดลงยังประตูเมืองสังกัสนคร

หมู่คนทางเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าอย่างที่เห็นในภาพ จึง คือ หมู่เทพที่ตามส่งเสด็จ
เบื้องซ้ายผู้ถือฉัตรกั้นถวายพระพุทธเจ้า คือ ท่านท้าวมหาพรหม ผู้อุ้มบาตรนำเสด็จพระพุทธเจ้า คือ พระอินทร์
ผู้ ถือพิณบรรเลงถัดมา คือ ปัญจสิงขรคนธรรพณ์เทพบุตร
ถัดมาเบื้องขวา คือ มาตุลีเทพบุตร ซึ่งถือพานดอกไม้ทิพย์โปรยปรายนำทางเสด็จพุทธดำเนิน

พระพุทธเจ้าทรงเป็นวิสุทธิเทพผู้บริสุทธิ์ นักเขียนศาสนาพุทธรุ่นต่อมา จึงถวายพระนามเฉลิมพระเกียรติอย่างหนี่งว่า "เทวาติเทพ"
แปลว่า ทรงเป็นเทพยิ่งใหญ่กว่าเทพทุกชั้น เทพต่าง ๆ ที่คนอินเดียในสมัยนั้นนับถือกัน เช่น พระอินทร์ และท้าวมหาพรหม เป็นต้น
ก็ถูกจับมาเป็นตัวละครในเรื่อง ให้อยู่ในฐานะเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าทั้งสิ้น
         
คนผู้นับถือศาสนาพุทธในเมืองไทย ถือกันว่า วันออกพรรษาเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง จึงนิยมทำบุญตักบาตรกันในวันนี้
เพราะถือว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
เรียกการตักบาตรนี้ว่า "ตักบาตรเทโว" ย่อมาจาก "เทโวโรหณะ" แปลว่า ตักบาตรเนื่องในวันคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก นั่นเอง



91  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๕ พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก on: August 23, 2009, 09:31:47 pm


ภาพที่ ๖๕ ครั้นแล้วก็ทรงเปิดโลก บันดาลให้ เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรก แลเห็นซึ่งกันและกัน

ในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์นั้น พระองค์ได้แสดงปาฏิหาริย์อีกครั้งหนึ่ง คือ
ขณะที่พระองค์ประทับยืนอยู่ที่บันไดแก้ว ทรงทอดพระเนตรไปทางทิศเบื้องบน เทวโลก และ พรหมโลก ก็เปิดมองเห็นโล่ง
เมื่อทรงทอดพระเนตรไปในทิศเบื้องต่ำ นิรยโลกทั้งหลายก็เปิดโล่ง
ในครั้งนั้น สวรรค์ มนุษย์ และสัตว์นรก ต่างก็เห็นซึ่งกันและกันทั่วจักรวาล

ภาพนี้อยู่ในเหตุการณ์ตอนเดียวกับวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกเหตุการณ์ตอนนี้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลก
โลกที่ทรงเปิดในเหตุการณ์คราวนี้มี ๓ โลก คือ เทวโลก มนุษยโลก และ ยมโลก

เทวโลก หมายถึง ตั้งแต่พรหมโลกลงมาจนถึงสวรรค์ทุกชั้น มนุษยโลก ก็คือ โลกมนุษย์
และ ยมโลก ซึ่งอยู่ทางเบื้องต่ำ คือ นรกทุกขุม จนกระทั่งถึง อเวจีมหานรก

พระพุทธเจ้าขณะเสด็จลงจากสวรรค์ ทอดพระเนตรดูเบื้องบนโลกทั้งมวล ตั้งแต่มนุษย์ก็สว่างโล่งขึ้นไปถึงเทวโลก
เมื่อทรงเหลียวไปรอบทิศรอบด้านสากลจักรวาล ก็โล่งถึงกันหมด และเมื่อทอดพระเนตรลงเบื้องล่าง ความสว่างก็เปิดโล่งลงไปถึงนรกทุกขุม

ผู้อาศัยอยู่ในสามโลกต่างมองเห็นกัน มนุษย์ก็เห็นเทวดา เทวดาก็เห็นมนุษย์ มนุษย์และเทวดาเห็นสัตว์นรก สัตว์นรกเห็นเทวดาและมนุษย์
แล้วต่างเหลียวมองดูพระพุทธเจ้าผู้เสด็จลงจากสวรรค์ ด้วยพระเกียรติอันยิ่งใหญ่

คัมภีร์ ธรรมบทที่พระพุทธโฆษาจารย์เป็นผู้แต่งบอกว่า "วันนี้คนทั้งสามโลกได้เห็นแล้ว ที่ไม่อยากเป็นพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีเลยสักคน"
ปฐมสมโพธิพรรณนาไว้ยิ่งกว่านี้เสียอีก คือว่า

"ครั้งนั้นเทพยดามนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน กำหนดที่สุดมดดำมดแดง
ซึ่งได้เห็นองค์พระชินสีห์ แลสัตว์คนใดคนหนึ่งซึ่งจะมิได้ปรารถนาพุทธภูมินั้นมิได้มีเป็นอันขาด"

พุทธภูมิ คือ ความเป็นพระพุทธเจ้า คำว่า พระพุทธเจ้าทรงเปิดโลกทั้งสาม ให้คนทั้งสามโลกนี้มองเห็นกันและกันนั้น
ถ้าจะถอดใจความให้ฟังได้ ก็คือ วันนี้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม มี คนมาฟังธรรมกันมากที่สุด
คนมองเห็นบาปบุญคุณโทษ ผลบาป คือ ความทุกข์ ได้แก่ นรก ผลบุญ คือ ความสุข ได้แก่ สวรรค์
และความมีศีลธรรม ทำให้คนเป็นคนที่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน
92  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๖ ช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก on: August 23, 2009, 09:25:29 pm


ภาพที่ ๖๖ ครั้งหนึ่งเสด็จไปจำพรรษา ณ ป่าเลไล โดยมีช้างกับลิง เป็นพุทธอุปัฏฐาก
       
ภาพที่เห็นเป็นภาพเหตุการณ์ตอนหนึ่งในประวัติของพระพุทธเจ้า
เป็นตอนที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาในป่าโดยลำพังพระองค์ ไม่มีพระภิกษุใดหรือใครอื่นตามเสด็จไปจำพรรษาอยู่ด้วยเลย
ป่าที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาครั้งนี้ เป็นป่าใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยของช้างโทนเชือกหนึ่ง ชื่อว่า "ปาลิไลยกะ" หรือ "ปาลิไลยก์"
ป่าแห่งนี้จึงได้นามตามช้างนี้ว่า "ป่าปาลิไลยก์" คนไทยเราเรียกว่า "ป่าปาเลไล" อันเดียวกันนั่นเอง

มูลเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาที่ป่าแห่งนี้ เพราะทรงรำคาญพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีสองคณะ พิพาทและแตกสามัคคีกัน
ถึงกับไม่ยอมลงโบสถ์ร่วมกัน พระพุทธเจ้าทรงทราบเข้า ได้เสด็จมาทรงระงับให้ปรองดองกัน แต่พระภิกษุทั้งสองคณะก็ไม่เชื่อฟัง
พระพุทธเจ้าจึงทรงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่าดังกล่าว

ด้วย อำนาจพุทธบารมีและพระเมตตาของพระพุทธเจ้า ช้างปาลิไลยก์ก็ได้เข้ามาอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า เช้าขึ้นหาผลไม้ป่ามาถวาย
ตอนเย็นต้มน้ำร้อนถวายพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีกลิ้งก้อนหินที่เผาไฟให้ร้อนลงในแอ่งน้ำ

ลิงตัวหนึ่งเห็นช้างปรนนิบัติถวายพระพุทธเจ้า ก็ได้นำรังผึ้งมาถวายพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจ้าทรงรับแต่ไม่ทรงฉัน
ลิงจึงได้เข้าไปนำรวงผึ้งกลับมาพิจารณาดู เมื่อเห็นตัวอ่อนของผึ้ง จึงนำตัวอ่อนออกหมด แล้วจึงนำแต่น้ำผึ้งหวานไปถวายใหม่
คราวนี้พระพุทธองค์ทรงรับแล้วฉัน ลิงแอบดูอยู่บนต้นไม้ เห็นพระพุทธเจ้าทรงฉันรวงผึ้งของตน ก็ดีใจ กระโดดโลดเต้นบนกิ่งไม้
จนพลัดตกลงมา ถูกไม้แหลมเสียบท้องทะลุตาย

เมื่อออกพรรษา พระภิกษุที่แตกกันเป็นสองฝ่ายยอมสามัคคีกัน เพราะชาวบ้านไม่ยอมทำบุญใส่บาตรให้
ได้ส่งผู้แทนไปกราบทูลพระพุทธเจ้าเสด็จกลับเข้าเมือง ช้างปาลิไลยก์อาลัยพระพุทธเจ้านักหนา เดินตามพระพุทธเจ้าออกจากป่า
ทำท่าจะตามเข้าไปในเมืองด้วย พระพุทธเจ้าจึงทรงหันไปตรัสบอกช้างว่า
"ปาลิไลยก์ ถิ่นของเธอหมดแค่นี้ แต่นี้ต่อไปเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นภัยต่อสัตว์เดรัจฉานเช่นเธอ เธอไปด้วยไม่ได้หรอก"
             
ช้างปาลิไลยก์ก็ยืนร้องไห้เสียใจ ไม่กล้าเดินตามพระพุทธเจ้า พอ พระพุทธเจ้าลับสายตา ก็เลยอกแตกตายอยู่ ณ ที่นั้น
คัมภีร์บอกว่า ทั้งลิงและช้างตายแล้ว ไปเกิดเป็นเทพบุตรอยู่ที่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


93  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๗ พระยามารเข้าเฝ้า on: August 23, 2009, 09:19:53 pm


ภาพที่ ๖๗ ถึงเพ็ญเดือน ๓ พรรษาที่ ๔๕ พระยามารเข้าเฝ้า ทูลให้เสด็จปรินิพพาน ทรงรับอาราธนา
     
พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่าง ๆ เป็นเวลาถึง ๔๕ พรรษา
นับตั้งแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา พรรษาที่ ๔๕ จึงเป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า
และเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ ปี นับแต่ประสูติเป็นต้นมา

พรรษาสุดท้าย พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เวฬุคาม แขวงเมืองไพศาลี ระหว่างพรรษา
ทรงพระประชวรเพราะอาพาธหนัก จวนเจียนจะเสด็จนิพพาน พระสงฆ์ทั้งปวงที่ยังเป็นปุถุชน
หรือแม้แต่พระอานนท์ องค์อุปัฏฐากก็หวั่นไหว เพราะความตกใจที่เห็นพระพุทธเจ้าประชวรหนัก
พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า เวลานี้ พระกายของพระองค์ถึงอาการชรามาก
มีสภาพเหมือนเกวียนชำรุด ที่ซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่

ทรงหายจากอาพาธคราวนี้แล้ว และเมื่อออกพรรษาแล้ว
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ เสด็จไปประทับที่ร่มพฤกษาแห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ แขวงเมืองไพศาลี
เวลา กลางวัน พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอภาสนิมิตแก่พระอานนท์ว่า "อิทธิบาทสี่" (ชื่อของธรรมหมวดหนึ่ง มี ๔ ข้อ)
ถ้าผู้ใดบำเพ็ญได้เต็มเปี่ยมแล้ว สามารถจะต่ออายุยืนยาวไปได้อีกกำหนดระยะเวลาหนึ่ง

"โอภาสนิมิต" แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า "บอกใบ้" คือ พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุจะสิ้นสุดในปีที่กล่าวนี้
จึงทรงบอกใบ้ให้พระอานนท์กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้า ทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีกระยะหนึ่ง
แต่พระอานนท์ท่านนึกไม่ออก ทั้ง ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกใบ้ถึง ๓ หน

ปฐมโพธิบอกว่า เมื่อพระอานนท์นึกไม่ออกเช่นนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระอานนท์ให้ไปนั่งอยู่ที่ใต้ร่มไม้อีกแห่งหนึ่ง
แล้วมารก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลพระพุทธเจ้าให้เสด็จนิพพาน พระพุทธเจ้าทรงรับคำ แล้วทรงปลงอายุสังขาร
       
"ปลงอายุสังขาร" แปลเป็นภาษาสามัญได้ว่า "กำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า" วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือนสาม
พระพุทธเจ้าตรัสว่า นับจากนี้ไปอีก ๓ เดือนข้างหน้า (กลางเดือนหก) พระองค์จะนิพพานที่เมืองกุสินารา

94  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๘ มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท on: August 23, 2009, 09:11:47 pm


ภาพที่ ๖๘ มีพระพุทธฎีกาตรัสแก่พระอานนท์ว่า ทรงปลงอายุสังขารแล้ว อีกสามเดือนจะนิพพาน

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร คือ ทรงประกาศกำหนดวันจะเสด็จนิพพานไว้ล่วงหน้าถึง ๓ เดือน
พลันก็ยังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว ผู้คนที่ได้ทราบข่าวต่าง ๆ เกิดขนลุก ปฐมสมโพธิว่า กลองทิพย์ก็บันลือลั่นไปในอากาศ
พระอานนท์ประสบเหตุอัศจรรย์นั้น จึงออกจากร่มพฤกษาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลถามถึงเหตุเกิดอัศจรรย์ คือ แผ่นดินไหว
พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า เหตุที่จะเกิดแผ่นดินไหวนั้น มี ๘ อย่าง คือ
๑. ลมกำเริบ
๒. ผู้มีฤทธิ์บันดาล
๓. พระโพธิสัตว์ (ผู้มีบุญ) จุติจากสวรรค์ลงมาเกิด
๔. พระโพธิสัตว์ประสูติ
๕. พระพุทธเจ้าตรัสรู้
๖. พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา
๗. พระพุทธเจ้าปลงอายุสังขาร
๘. พระพุทธเจ้านิพพาน

พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า ที่เกิดแผ่นดินไหวในวันนี้ เกิดจากพระองค์ทรงปลงอายุสังขาร
พอได้ฟังดังนั้น พระอานนท์นึกได้คือ ได้สติตอนนี้ จึงจำได้ว่า พระพุทธเจ้าเคยตรัสบอกท่านว่า
ธรรมะ ๔ ข้อ ที่เรียกว่า "อิทธิบาท ๔ " คือ ความพอใจ ความเพียร ความฝักใฝ่ และความไตร่ตรอง
ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญปฏิบัติให้เต็มเปี่ยมแล้ว ปรารถนาจะให้ชีวิตซึ่งถึงกำหนดดับหรือตาย ได้มีอายุยืนยาวต่อไปอีกระยะหนึ่ง ก็ย่อมทำได้

         
พอนึกได้เช่นนี้ พระอานนท์จึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า ให้ทรงใช้อิทธิบาท ๔ นั้น ต่อพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีก
พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธถึง ๓ ครั้ง ตรัสว่า พระองค์เคยทรงแสดงโอภาสนิมิต (บอกใบ้)
ให้พระอานนท์ทูลอาราธนาพระองค์ให้มีพระชนมายุสืบต่อไปอีกก่อนหลายครั้ง และหลายแห่งแล้ว
ซึ่งถ้าพระอานนท์นึกได้แล้วทูลอาราธนา พระองค์ก็จะทรงรับคำอาราธนา เพื่อต่อพระชนมายุของพระองค์ออกไปอีก
ว่าอย่างสามัญก็ว่า พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า "สายเสียแล้ว" เพราะพระองค์ได้ประกาศปลงอายุสังขารว่าจะนิพพานเสียแล้ว

95  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๖๙ ดูกรุงไพศาลีเป็นครั้งสุดท้าย on: August 23, 2009, 09:04:32 pm


ภาพที่ ๖๙ รุ่งเช้าเสด็จกลับจากทรงบาตร เยื้องพระกาย ดูกรุงไพศาลีเป็นครั้งสุดท้าย

หลังจากพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธคำทูลอาราธนาของพระอานนท์ เรื่องให้ทรงต่อพระชนมายุออกไปอีกระยะหนึ่ง
อย่าเพิ่งนิพพานเลย แล้วพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ เสด็จไปยังกุฎาคารศาลา ในป่ามหาวัน แขวงกรุงไพศาลี

กุฎาคาร ศาลา คือ อาคารที่ปลูกเป็นเรือน มียอดแหลมเหมือนยอดปราสาท ป่ามหาวันเป็นป่าใหญ่ดงดิบ
คัมภีร์ศาสนาพุทธหลายคัมภีร์บันทึกไว้ตรงกันว่า ป่าแห่งนี้มีอาณาเขตกว้างขวาง ด้านเหนือเป็นพืดติดต่อถึงเชิงเขาหิมาลัย
สมัยพระพุทธเจ้า ป่าแห่งนี้เป็นที่อาศัยบำเพ็ญพรตของบรรดาฤาษี นักพรต นักบวช
พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ก็เคยอาศัยป่าแห่งนี้เป็นที่ประทับ และแวะพักหลายครั้ง
พระพุทธเจ้าเสด็จมายังป่ามหาวันแล้วประชุมพระสงฆ์ เพราะขณะนี้ ข่าวพระพุทธเจ้าจะนิพพานได้แพร่สะพัดไปทั่วแล้ว
พระพุทธเจ้าตรัสประทานโอวาทพระสงฆ์ที่ยังไม่สำเร็จมรรคผล ให้รีบขวนขวาย อย่าได้ประมาท
อย่าได้เสียใจว่า พระองค์จะนิพพานจากไปเสียก่อน

"ชน ทั้งหลายเหล่าใด ทั้งหนุ่มและแก่ ทั้งพาลและบัณฑิต ทั้งมั่งคั่ง ทั้งยากไร้ ชนเหล่านั้น ต่างตายด้วยกันในที่สุด
ภาชนะดินที่ช่างหม้อปั้นแล้ว ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าเผาสุกหรือดิบ ไม่ว่าขนาดไหน มีแตกสลายในที่สุด
ชีวิตคนและสัตว์ทุกชนิดในโลกนี้ก็เหมือนกัน"


ความในอัญญประกาศนั้น คือ พุทธดำรัสที่พระพุทธเจ้าประทานพระสงฆ์ ในการเสด็จมายังป่ามหาวัน ดังกล่าว

รุ่ง ขึ้น พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในเมืองไพศาลี ตอนเสด็จออกจากเมือง
พระพุทธเจ้า ทรงแสดงพระอาการทางพระกาย ซึ่งตามปกติไม่เคยทรงกระทำอย่างนั้นมาก่อนเลย
ไม่ว่าจะเสด็จจากเมืองใด ๆ คือ เยื้องพระกายทั้งพระองค์กลับ
ทอดพระเนตรเมืองไพศาลีเป็นอย่าง "นาคาวโลก" แปลว่า "ช้างเหลียวหลัง"

ตรัส ว่า "อานนท์ การเห็นเมืองไพศาลีครั้งนี้ของเรา นับเป็นครั้งสุดท้าย ต่อนี้ไป จักไม่ได้เห็นอีก"
ครั้นแล้วตรัสว่า "มาเดินทางต่อไปยังภัณฑคามกันเถิด"
         
"ภัณฑคาม" เป็นตำบลแห่งหนึ่ง ซี่งอยู่ระหว่างทางที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองกุสินารา ซึ่งเป็นเมืองที่พระองค์จะนิพพาน
96  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๐ ปัจฉิมบิณฑบาต on: August 23, 2009, 08:57:39 pm


ภาพที่ ๗๐ เช้าวันเพ็ญเดือน ๖ ทรงเสวยมังสะสุกรอ่อน ที่บ้านนายจุนทะ นับเป็นปัจฉิมบิณฑบาต

พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวาร ได้เสด็จออกจากเขตแขวงเมืองไพศาลีไปโดยลำดับ
เพื่อเสด็จไปยังเมืองกุสินารา สถานที่ทรงกำหนดว่า จะนิพพานเป็นแห่งสุดท้าย
จนไปถึงเมืองปาวาในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ ซึ่งเป็นวันก่อนเสด็จนิพพานเพียงหนึ่งวัน

เสด็จเข้าไปประทับอาศัยที่สวนมะม่วงของนายจุนทะกัมมารบุตร นายจุนทะเป็นลูกนายช่างทอง ได้ทราบข่าวว่า
พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเสด็จมาพักอยู่ที่สวนมะม่วงของตน ก็ออกไปเฝ้าและฟังธรรม
ฟังจบแล้วนายจุนทะกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ เสด็จไปรับภัตตาหารที่บ้านของตนในเวลาเช้าวันรุ่งขึ้น

เวลาเช้าวันรุ่งขึ้น นายจุนทะได้ถวายอาหารพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ที่บ้านของตน
อาหารอย่างหนึ่งที่นายจุนทะปรุงถวายพระพุทธเจ้าในวันนี้ มีชื่อว่า "สูกรมัททวะ"

คัมภีร์ศาสนาพุทธชั้นอรรถกถา และมติของเกจิอาจารย์ทั้งหลาย ยังไม่ลงรอยกันว่า "สูกรมัททวะ" นั้น คืออะไรแน่
บางมติ ว่าได้แก่ สุกรอ่อน (แปลตามตัว สูกร- สุกร หรือ หมู มัททวะ -อ่อน) บางมติว่า ได้แก่ เห็ดชนิดหนึ่ง
และบางมติว่า ได้แก่ ชื่ออาหารอันประณีตชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวอินเดียปรุงขึ้นเพื่อถวายแก่ผู้ที่ตนเคารพนับถือที่สุด เช่น เทพเจ้า เป็นต้น
 เป็นอาหารประณีตยิ่งกว่าข้าวมธุปายาส
           
พระพุทธเจ้าได้ตรัสบอกนายจุนทะให้จัดถวายสูกรมัททวะนั้น ถวายเฉพาะพระองค์ ส่วนอาหารอย่างอื่นให้จัดถวายพระสงฆ์
และเมื่อพระพุทธเจ้าทรงฉันเสร็จแล้ว รับสั่งให้นายจุนทะนำเอาสูกรมัททวะที่เหลือจากพระองค์ฉันแล้ว ไปฝังเสียที่บ่อ
เพราะคนอื่นนอกจากพระองค์ฉันแล้ว ร่างกายไม่อาจจะทำให้อาหารนั้นย่อยได้
เสร็จแล้วพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้นายจุนทะฟังเป็นที่ชื่นชม และรื่นเริงในบุญกุศลจริยาของตน
แล้วทรงอำลานายจุนทะเสด็จต่อไปยังเมืองกุสินาราต่อไป


97  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๑ เสด็จไปกรุงกุสินารา ทรงกระหาย on: August 23, 2009, 08:50:02 pm


ภาพที่ ๗๑ เสด็จไปกรุงกุสินารา ทรงกระหายน้ำ โปรดให้พระอานนท์ไปตักน้ำมาถวาย

ระหว่างทางเสด็จไปเมืองกุสินารา ภายหลังทรงฉันสูกรมัททวะของนายจุนทะแล้ว
พระพุทธเจ้าทรงพระประชวรด้วยพระโรคปักขันธิกาพาธอย่างหนัก จวนเจียนจะเสด็จนิพพาน ณ ที่นั้นเสียก่อนกำหนด
แต่ทรงระงับอาพาธนั้นเสียได้ด้วยขันติบารมี คือ ความอดกลั้น

ปักขันธิกาพาธ เป็นพระโรคอย่างหนึ่งซึ่งเกิดประจำพระองค์พระพุทธเจ้า คือ ทรงพระบังคนถ่ายออกมาเป็นโลหิต
มีผู้สันนิษฐานกันว่าคงได้แก่ ริดสีดวงลำใส้

เพราะเหตุที่ประชวรด้วยพระโรคดังกล่าว พระพุทธเจ้าทรงลำบากพระกายมาก แต่ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ ไม่ทรงทุรนทุราย

เสด็จถึงระหว่างทางแห่งหนึ่ง ซึ่งมีแม่น้ำเล็ก ๆ มีน้ำไหล พระพุทธเจ้าแวะลงข้างทาง เข้าประทับใต้ร่มพฤกษาแห่งหนึ่ง
ตรัสบอกพระอานนท์ให้พับผ้าสังฆาฏิเป็น ๔ ชั้น แล้วปูลาดถวาย เสด็จนั่งเพื่อพักผ่อน
แล้วตรัสให้พระอานนท์นำบาตรไปตักน้ำในแม่น้ำ

"เราจักดื่มระงับความกระหายให้สงบ" พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์

พระอานนท์กราบทูลว่า แม่น้ำนี้ตื้นเขิน เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม ของพวกพ่อค้าเกวียนเพิ่งข้ามแม่น้ำไปเมื่อสักครู่นี้
เท้าโค ล้อเกวียน บดย่ำทำให้น้ำในแม่น้ำขุ่น แล้วกราบทูลพระพุทธเจ้าว่า
"อีกไม่ไกลแต่นี้ มี แม่น้ำสายหนึ่งชื่อ กุกกุฏนที มีน้ำใส จืดสนิท เย็น มีท่าน้ำสำหรับลงเป็นที่รื่นรมย์
ขอเชิญเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ไปที่แม่น้ำนั้นเถิด พระเจ้าข้า"

พระ พุทธเจ้าตรัสปฏิเสธคำทูลทัดทานของพระอานนท์ถึง ๓ ครั้ง พระอานนท์จึงอุ้มบาตรเดินลงไปตักน้ำในแม่น้ำ
ครั้นเห็นน้ำ พระอานนท์ก็เกิดอัศจรรย์ใจนักหนา พลางรำพึงว่า

"ความที่พระตถาคตพุทธเจ้ามีฤทธิ์และอานุภาพใหญ่หลวงเช่นนี้เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก
แม่น้ำนี้ขุ่นนัก เมื่อเราเข้าไปใกล้เพื่อจะตัก น้ำกลับใสไม่ขุ่นมัว"

ครั้นแล้วพระอานนท์ก็นำบาตรตักน้ำนั้นไปถวายพระพุทธเจ้า
98  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๒ ปุกกุสะบุตรแวะเข้าเฝ้า on: August 23, 2009, 08:43:46 pm


ภาพที่ ๗๒ ปุกกุสะบุตรแห่งมัลลกษัตริย์แวะเข้าเฝ้า ถวายผ้าเนื้อเกลี้ยงสีทอง

ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ใต้ร่มพฤกษาริมฝั่งแม่น้ำ ซึ่งอยู่ในระหว่างทางที่จะไปยังเมืองกุสินารานั้น
ได้มีชายผู้หนึ่งนามว่า "ปุกกุสะ" ผู้เป็นบุตรของมัลลกษัตริย์ เดินทางมาจากเมืองกุสินาราจะไปยังเมืองปาวา
มาถึงตรงที่พระพุทธเจ้าประทับหยุดพัก จึงเข้าไปเฝ้า

พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่องธรรมอันเป็นสันติ ปุกกุสสะฟังแล้วเกิดความเลื่อมใส
จึงถวายผ้าสิงคิวรรณ สองผืนแด่พระพุทธเจ้า ผ้าสิงคิวรรณ คือ ผ้าเนื้อดี ละเอียด ประณีต มีสีเหมือน "สิงคิ" แปลว่า ทองคำ

เขากราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ผ้า สิงคิวรรณคู่นี้ผืนหนึ่งสำหรับห่ม อีกผืนหนึ่งสำหรับนุ่ง เป็นผ้าพิเศษเนื้อเกลี้ยง
ตัวเขาเคยนุ่งห่มเป็นครั้งคราว เขาได้เก็บรักษาไว้ แต่บัดนี้ จะขอถวายพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงรับผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งทรงบอกให้ปุกกุสสะนำไปถวายพระอานนท์
ชายผู้นี้ได้ทำตามพุทธประสงค์ กราบถวายอภิวาทพระบาทพระพุทธเจ้า แล้วออกเดินทางต่อไป

หลังจากนั้น พระอานนท์ได้นำผ้าผืนที่ชายผู้นั้นถวายท่าน เข้าไปถวายพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าทรงนุ่งผืนหนึ่ง และห่มอีกผืนหนึ่ง พอพระพุทธเจ้าทรงนุ่งและห่มผ้าสิงคิวรรณแล้ว ปรากฎว่า
พระวรกายของพระพุทธเจ้าฉายพระรัศมีเปล่งปลั่ง และผุดผ่องผิดปกติยิ่งกว่าครั้งใด ๆ ที่พระอานนท์เคยเห็นมา
พระอานนท์จึงกราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่า เป็นที่น่าอัศจรรย์มาก

พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า พระกายของพระองค์มีพระรัศมีเปล่งปลั่งผิดปกติ มีอยู่สองครั้งเท่านั้น
ครั้งหนึ่งเมื่อตรัสรู้ใหม่ ๆ อีกครั้งหนึ่ง คือ เมื่อก่อนวันจะนิพพาน คือ วันนี้ แล้วตรัสว่า

"ดูก่อนอานนท์ สิ้นสุดคืนวันนี้ เราจักนิพพานแล้ว มาเดินทางต่อไปยังเมืองกุสินารากันเถิด"

พระอานนท์รับพุทธาณัติ คือ คำสั่งจากพระพุทธเจ้า แล้วเรียนให้พระสงฆ์ทั้งปวงที่ตามเสด็จให้ทราบ เพื่อออกเดินทางต่อไป


99  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๓ เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา on: August 23, 2009, 08:37:10 pm


ภาพที่ ๗๓ เสด็จถึงสาลวันกรุงกุสินารา โปรดให้พระอานนท์จัดที่บรรทม ระหว่างไม้รังทั้งคู่

พระพุทธเจ้าพร้อมกับพระสงฆ์บริวาร เสด็จไปถึงชานเมืองกุสินาราในเวลาจวนค่ำ
เสด็จข้ามแม่น้ำหิรัญวดี แล้วเสด็จไปในอุทยานนอกเมืองนั้น ที่มีชื่อว่า "สาลวโนทยาน"

เมืองต่าง ๆ ในสมัยพระพุทธเจ้า ส่วนมากมีอุทยานเหมือนสวนสาธารณะอย่างทุกวันนี้
สำหรับประชาชนในเมือง และชนชั้นปกครอง ได้อาศัยเป็นที่พักผ่อนกันทั้งนั้น
กรุงราชคฤห์ ก็มีอุทยาน ชื่อ "ลัฏฐิวัน" ที่เรียกว่า สวนตาลหนุ่ม
กบิลพัสดุ์ เมืองประสูติของพระพุทธเจ้าก็มี "ลุมพินีวัน" กุสินารา จึงมี "สาลวโนทยาน" ดังกล่าว

สาลวโนทยาน อยู่นอกเมืองกุสินารา มีต้นไม้ใหญ่ ๒ ต้น เคียงคู่กันอยู่ เรียกว่า "ต้นสาละ"
อุทยานแห่งนี้จึงได้นามตามต้นสาละว่า สาลวโนทยาน ดังกล่าว

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงอุทยานแห่งนี้แล้ว ตรัสสั่งให้พระอานนท์ตั้งเตียง
หันทางเบื้องศีรษะไปทางทิศเหนือ ให้เตียงอยู่ระหว่างใต้ต้นสาละทั้งคู่
ตรัสว่า "เราลำบากและเหน็ดเหนื่อยมาก จักนอนระงับความลำบากนั้น"

พระอานนท์จัดตั้งเตียงและปูผ้ารองเสร็จแล้ว พระพุทธเจ้าเสด็จบรรทมตะแคงข้างขวา
หันพระเศียรไปทางทิศเหนือ ตั้งพระบาทซ้อนเหลื่อมกัน ดำรง สติสัมปชัญญะ
แล้วตั้งพระทัยจะเสด็จบรรทมเป็นไสยาวสาน (นอนเป็นครั้งสุดท้าย)
เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "อนุฐานไสยา" แปลว่า "นอนโดยจะไม่ลุกขึ้นอีก"
           
ปฐมสมโพธิว่า
"ในขณะนั้นเอง มิใช่ฤดูกาลจะออกดอกเลย แต่ ต้นสาละทั้งคู่ ก็ผลิดอกออกบานตั้งแต่โคนรากเบื้องต้นถึงยอด
และทั่วทุกกิ่งสาขาก็ดาดาด (พจนานุกรมราชบัณฑิตสถานใช้ ดารดาษ หรือ ดาษดา) ด้วยดอกแลสะพรั่ง แล้วดอกสาละนั้น
ก็ร่วงหล่นลงบูชาพระพุทธเจ้า ดอก มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์ของสวรรค์ ตลอดถึงจุณจันทน์สุคนธชาติของทิพย์
ก็โปรยปรายลงจากอากาศ ดนตรีสวรรค์ก็บันลือประโคม เป็นมหานฤนาทโกลาหล
เพื่อจะบูชาพระพุทธเจ้าในกาลอันเป็นอวสานของพระองค์"

100  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๔ พระอานนท์ทรงร้องไห้ on: August 23, 2009, 12:46:17 pm


ภาพที่ ๗๔ พระอานนท์ไปยืนเหนี่ยวสลักเพชรพระวิหาร ร้องไห้รำพันถึงพระพุทธองค์

พระอานนท์เป็นพระภิกษุอุปัฏฐานของพระพุทธเจ้า ก่อนท่านรับตำแหน่งนี้ เคยมีพระภิกษุหลายรูปทำหน้าที่นี้มาก่อน 
แต่ท่านเหล่านั้นรับหน้าที่ดังกล่าวไม่นาน ก็กราบทูลลาพระพุทธเจ้าออกไป
ผู้รับหน้าที่อุปัฏฐานพระพุทธเจ้าเป็นเวลานานที่สุด จนพระพุทธเจ้านิพพาน จึงได้แก่พระอานนท์

โดยความสัมพันธ์ทางพระญาติ  พระอานนท์มีศักดิ์เป็นพระอนุชาหรือน้องชายของพระพุทธเจ้า  พระอานนท์ทรงร่ำไห้
เพราะบิดาของท่านเป็นน้องชายของบิดาของพระพุทธเจ้า นี่ว่าอย่างสามัญ

ตลอดเวลาที่รับหน้าที่อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า พระอานนท์ตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปทุกหนทุกแห่ง
คอยปรนนิบัติอุปัฏฐากพระพุทธเจ้ามิได้บกพร่อง ด้วยเหตุดังกล่าวท่านจึงไม่มีเวลาบำเพ็ญกิจส่วนตัว 
พรรคพวกรุ่นเดียวกันที่ออกบวชพร้อมกัน (ยกเว้นพระเทวทัต) ต่างได้สำเร็จอรหันต์กันทั้งสิ้น   
ส่วนพระอานนท์ได้สำเร็จมรรคผลเพียงชั้นโสดาเท่านั้น

เมื่อพระพุทธเจ้าจวนจะนิพพาน ท่านจึงมีภาระเพิ่มมากขึ้น เหนื่อยทั้งกายและใจ ใจท่านว้าวุ่นไม่เป็นส่ำ   
พอได้ยินพระพุทธเจ้าบอกพระสงฆ์เกี่ยวกับเรื่องพระองค์จะนิพพาน
พระอานนท์ไม่อาจจะอดกลั้นความเสียใจและอาลัยพระพุทธเจ้าไว้ได้  ท่านจึงหลบหลีกออกจากที่เฝ้า เข้าไปยังวิหารแห่งหนึ่ง 
ไปยืนอยู่ข้างบานประตูวิหาร มือเหนี่ยวสลักเพชรหรือลิ่มสลักกลอนประตูแล้วร้องไห้ โฮๆ พลางรำพันว่า ตัวเรายังเป็นอริยบุคคลชั้นต่ำ
ยังไม่สำเร็จอรหันต์ พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นทั้งพระศาสดาและพระเชษฐาของเราก็จักมานิพพานจากเราไปก่อนเสียแล้ว

พระพุทธเจ้าทรงเห็นพระอานนท์หายไปจากที่เฝ้า จึงตรัสถามพระสงฆ์ถึงพระอานนท์ ทรงทราบแล้วรับสั่งให้ท่านเข้าเฝ้า 
แล้วตรัสพระธรรมเทศนาเตือนสติพระอานนท์ว่าอย่าได้เศร้าโศกเสียใจ

ตอนหนึ่งพระพุทธเจ้าตรัสบอกอานนท์ว่า ท่านเป็นคนมีบุญ อย่าได้ประมาท เมื่อพระองค์นิพพานแล้วไม่ช้า ท่านจักได้สำเร็จอรหันต์ 
(พระอานนท์ได้สำเร็จอรหันต์ภายหลังพระพุทธเจ้านิพพานได้สามเดือน)
Pages: 1 [2] 3
Powered by EzPortal
Bookmark this site! | Upgrade This Forum
Free SMF Hosting - Create your own Forum

Powered by SMF | SMF © 2016, Simple Machines
Privacy Policy