Sunan Community
April 18, 2024, 11:28:55 pm
Welcome, Guest. Please login or register.

Login with username, password and session length
News:
 
  Home Help Search Gallery Links Staff List Login Register  
  Show Posts
Pages: 1 2 [3]
101  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๕ แสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชก on: August 23, 2009, 12:43:42 pm


ภาพที่ ๗๕ ทรงแสดงธรรมโปรดสุภัททะปริพาชกให้สำเร็จมรรคผล นับเป็นปัจฉิมเวไนย

พระอานนท์สร่างจากความเสียใจถึงร้องไห้แล้ว ท่านก็เข้าไปแจ้งข่าวในเมืองตามพระดำรัสรับสั่งของพระพุทธเจ้า
เพื่อรายงานให้เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทราบว่า พระพุทธเจ้าจะนิพพานในตอนสิ้นสุดแห่งราตรีวันนี้แล้ว
แจ้งว่าใครจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ให้รีบไปเฝ้าเสียแต่ในขณะนี้ จะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่ได้เฝ้า

พวก เจ้ามัลลกษัตริย์ที่กำลังประชุมกันอยู่ในเมือง ด้วยเรื่องพระพุทธเจ้านิพพานต่างก็ถือเครื่องสักการะมาเฝ้าพระพุทธเจ้ากัน เนืองแน่นที่สุด
แต่ละคนน้ำตานองหน้า ร่ำไห้รำพันต่างๆ นานา เมื่อทราบว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพาน

ในจำนวนคนที่มาเฝ้าพระพุทธเจ้าครั้งนี้ มีปริพาชกคนหนึ่งนามว่า 'สุภัททะปริพาชก' คือ นักบวชนอกศาสนาพุทธพวกหนึ่ง

สุ ภัททะปริพาชกเข้าหาพระอานนท์ ภายหลังเจ้ามัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราได้เข้าเฝ้าแล้ว บอกว่าใคร่จะขออนุญาตเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า   
เพื่อทูลถามปัญหาบางอย่างซึ่งข้องใจมานาน พระอานนท์ปฏิเสธปริพาชกผู้นี้ว่าอย่าเลย อย่าได้รบกวนพระพุทธเจ้าเลย
เพราะตอนนี้กำลังจะนิพพาน

ขณะนั้น พระพุทธเจ้าซึ่งทรงได้ยินการโต้ตอบกันระหว่างพระอานนท์กับสุภัททะปริพาชก
จึงตรัสบอกพระอานนท์ว่าพระองค์ทรงอนุญาตให้สุภัททะปริพาชกเข้าเฝ้าได้ เมื่อสุภัททะปริพาชกได้โอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
จึงทูลถามปัญหาที่ข้องใจมานาน ปัญหาข้อหนึ่งว่าสมณะผู้ได้บรรลุมรรคผลในศาสนาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนามีหรือไม่   
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่มี แล้วทรงแสดงธรรมให้ปริพาชกฟังโดยละเอียด

สุภัททะปริพาชกฟังแล้วเสื่อมใส ทูลขอบวชเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าตรัสว่านักบวชในศาสนาอื่นจะมาขอบวชเป็นพระภิกษุในศาสนาของพระองค์นั้น
จะต้องอยู่ปริวาสครบ ๔ เดือนก่อนจึงจะบวชได้ สุภัททะปริพาชกกราบทูลพระพุทธเจ้าว่าอย่าว่าแต่ ๔ เดือนเลย จะให้อยู่ถึง ๔ ปี ก็ยอม

พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ ให้พระสงฆ์จัดการบวชให้สุภัททะปริพาชกในคืนวันนั้น
สุภัททะปริพาชกจึงนับเป็นสาวกองค์สุดท้ายของพระพุทธเจ้า
102  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๖ ปัจฉิมโอวาทก่อนปรินิพพาน on: August 23, 2009, 12:19:36 pm


ภาพที่ ๗๖ ทรงยกพระธรรมวินัยไตรปิฎกเป็นศาสดา ประทานปัจฉิมโอวาทแล้วปรินิพพาน

ก่อนเสด็จนิพพานเล็กน้อย คือภายหลังทรงโปรดสุภัททะปริพาชกแล้ว พระพุทธเจ้าประทานโอวาทพระสงฆ์ 
โอวาทนั้นเป็นพระพุทธดำรัสสั่งเป็นครั้งสุดท้าย มีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น
เรื่องหนึ่งเกี่ยวกับพระสงฆ์ยังใช้ถ้อยคำเรียกขานกันลักลั่นอยู่ คือ คำว่า 'อาวุโส' และ 'ภันเต' 
อาวุโสตรงกับภาษาไทยว่า 'คุณ' และภัตเตว่า 'ท่าน'

พระพุทธเจ้าตรัสสั่งว่า พระที่มีอายุพรรษามากให้เรียกพระบวชภายหลังตน หรือที่อ่อนอายุพรรษากว่าว่า 'อาวุโส'  หรือ  'คุณ' 
ส่วนพระภิกษุที่อ่อนอายุพรรษา พึงเรียกพระที่แก่อายุพรรษากว่าตนว่า 'ภันเต' หรือ 'ท่าน'

ครั้นแล้วทรงเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ทั้งปวงทูลถาม ว่าท่านผู้ใดสงสัยอะไรในเรื่องที่พระองค์ทรงสั่งสอนไว้
แล้วก็ให้ถามเสียจะได้ไม่เสียใจเมื่อภายหลังว่าไม่มีโอกาสถาม

ปรากฏตามท้องเรื่องใน มหาปรินิพพานสูตร ว่า ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้าในข้อสงสัยที่ตนมีอยู่เลย

เมื่อก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่งเป็นพระศาสดาปกครองพระสงฆ์
สืบต่อจากพระองค์เหมือนพระศาสดาในศาสนาอื่น เรื่องนี้ก็ไม่มีพระสงฆ์องค์ใดทูลถามพระพุทธเจ้า   
แต่พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ชัดเจนก่อนจะนิพพานว่า
พระภิกษุรูปใดอย่าเข้าใจผิดว่า เมื่อพระองค์นิพพานแล้ว ศาสนาพุทธหรือคำสั่งสอนของพระองค์จักไร้พระศาสดา

ตรัสบอกพระอานนท์ว่า "ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้ และบัญญัติไว้ด้วยดี 
นั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคต เมื่อเราล่วงไปแล้ว"

ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า
"ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เราขอเตือนพวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลกมีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"

หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ เดือน  ๖
หรือวันเพ็ญวิสาขะ ณ ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง

103  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๗ พระสงฆ์ได้ฟังข่าวปรินิพพาน on: August 23, 2009, 12:07:30 pm


ภาพที่ ๗๗ พระสงฆ์ปุถุชนได้ฟังข่าวปรินิพพาน ซึ่งอาชีวกบอกแก่พระมหากัสสปก็ร้องไห้

ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นตอนภายหลังพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว คือตอนพระมหากัสสปกำลังเดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า   
ตอนก่อนพระพุทธเจ้าจะนิพพานนั้น พระสงฆ์สาวกที่จาริกออกไปประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ ในสมัยนั้น   
เมื่อได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าจะนิพพานที่เมืองกุสินารา ต่างก็เดินทางมุ่งหน้ามาเมืองนี้เป็นจุดเดียวกัน
ที่อยู่ใกล้ก็มาทันเฝ้าพระพุทธเจ้า ส่วนที่อยู่ไกลไปก็มาไม่ทัน

พระมหากัสสปเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าทรงเคยยกย่องให้เกียรติเทียบเท่าพระองค์   
ท่านรีบเดินทางมาพร้อมด้วยพระสงฆ์หลายร้อยรูป มาถึงเมืองปาวา แดดกำลังร้อนจัด
จึงพาพระสงฆ์แวะพักชั่วคราวระหว่างทางภายใด้ร่มไม้แห่งหนึ่ง ขณะนั้น ท่านเห็นอาชีวกคือนักบวชนอกศาสนาพุทธคนหนึ่ง   
เดินทางสวนมาจากเมืองกุสินารา มือถือดอกมณฑารพ พระมหากัสสปจึงถามข่าวพระพุทธเจ้า
อาชีวกตอบว่าพระสมณโคดมนั้นนิพพานมาได้เจ็ดวันแล้ว แล้วชูดอกมณฑารพให้ดูว่าตนเก็บได้มาจากสถานที่ที่พระพุทธเจ้านิพพาน 
ดอกมณฑารพตามตำนานว่าเป็นดอกไม้สวรรค์ ออกดอกและบานในเวลาคนสำคัญของโลกมีอันเป็นไป

ทันใดนั้น ก็บังเกิดอาการสองอย่างขึ้นในหมู่พระสงฆ์ที่เดินทางมาพร้อมกับพระมหากัสสป 
พระสงฆ์ฝ่ายหนึ่งที่สำเร็จอรหันต์แล้วต่างดุษณีภาพด้วยธรรมสังเวชว่า พระพุทธเจ้านิพพานเสีย
ฝ่ายพระสงฆ์ปุถุชนต่างอดกลั้นความเศร้าโศกเสียใจไว้ไม่ได้  บางองค์ร้องไห้  โฮ... บางองค์ยกมือทั้งสองขึ้นร้องคร่ำครวญ 
บางองค์ล้มกลิ้งลงกับพื้นดิน มหาปรินิพพานสูตร บันทึกไว้ว่า อาการล้มกลิ้งของภิกษุนั้นเหมือนคนถูกตัดขาทั้งสองขาดในทันที

แต่มีอยูรูปหนึ่งนามว่าสุภัททะ (คนละองค์กับที่บวชพระสาวกอง ๕ สุดท้ายของพระพุทธเจ้า) เป็นพระที่บวชเมื่อแก่   
เข้าไปพูดปลอบโยนพระสงฆ์ทั้งปวงที่กำลังร้องไห้ว่า "คุณ!  คุณ! จะร้องไห้เสียใจทำไม พระพุทธเจ้านิพพานเสียได้นั่นดีนักหนา 
ถ้าพระองค์ยังอยู่ พวกเราทำอะไรตามใจไม่ได้ ล้วนแต่ว่าอาบัติทั้งนั้น ต่อนี้ไปพวกเราจะสบาย พระองค์นิพพานเสียได้นั่นดีแล้ว"

พระมหากัสสปได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวก็อดสังเวชมิได้ว่า พระพุทธเจ้าเพิ่งนิพพานได้เพียง ๗ วัน 
เสี้ยนหนามพระศาสนาก็บังเกิดขึ้นเสียแล้ว แล้วท่านก็พาพระสงฆ์รีบออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา เพื่อให้ทันถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้า
104  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ๗๘ พระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ on: August 23, 2009, 11:58:04 am


ภาพที่ ๗๘ พอพระมหากัสสปถวายบังคมบาทพระพุทธศพ เพลิงสวรรค์ก็บันดาล ลุกโชติช่วง

เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง คือ เจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมืองกุสินารา
ได้ทำพิธีสักการบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง ๖ วัน ในวันที่  ๗  จึงเชิญพระศพเป็นขบวนไปทางทิศเหนือของเมือง ผ่านใจกลางเมือง   
แล้วเชิญพระศพไปมกุฏพันธนเจดีย์ ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง 
วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทยเราถือว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่ง เรียกว่า 'วันอัฐมีบูชา'

ผู้เชิญหรือหามพระศพพระพุทธเจ้า เรียกว่า 'มัลลปาโมกข์'  มีจำนวน ๘ นาย แต่ละนายรูปร่างใหญ่กำยำล่ำสัน มีกำลังมาก
'มัลลปาโมกข์' แปลว่า หัวหน้านักมวยปล้ำ

พระศพพระพุทธเจ้าห่อด้วยผ้าใหม่ ที่ปฐมสมโพธิบอกจำนวนไว้ว่ามีถึง ๕๐๐ ชั้น ถอดเอาใจความว่ามีหลายชั้นนั่นเอง 
แต่ละชิ้นซับด้วยสำลี แล้วเจ้าหน้าที่เชิญลงประดิษฐานในหีบทองที่เต็มไปด้วยน้ำหอม แล้วปิดฝาครอบไว้ แล้วเชิญขึ้นจิตกาธานที่ทำด้วยไม้หอมหลายชนิด

พอได้เวลาเจ้าหน้าที่ได้จุดไฟขึ้นทั้ง  ๔ ด้าน ตำนานว่าจุดเท่าไรไฟก็ไม่ติด เจ้าหน้าที่ทางบ้านเมืองจึงเรียนถามพระอนุรุทธ์ 
(พระอนุรุทธ์เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ  มีศักดิ์เป็นพระอนุชาของพระพุทธเจ้าเป็นพระสาวกได้สำเร็จพระอรหันต์)
พระอนุรุทธ์จึงแจ้งให้ทราบว่า เป็นเพราะเทพเจ้าต้องการให้รอพระมหากัสสป ซึ่งกำลังเดินทางมายังไม่ถึงได้ถวายบังคมพระศพเสียก่อน   
ต่อมาเมื่อพระมหากัสสปพร้อมด้วยพระสงฆ์บริวารเดินทางมาถึง ได้ถวายบังคมพระศพพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเกิดเพลิงทิพย์ด้วยเทวาฤทธานุภาพ

ภายหลังจากนั้น เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระอัฐิพระเก ศา พระทนต์ และผ้าอีกคู่หนึ่ง 
พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน แล้วเชิญพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สัณฐาคารศาลา คือหอประชุมกลางเมือง 
รอบหอประชุมนั้นจัดทหารถืออาวุธพร้อมสรรพคอยพิทักษ์รักษา และทำสักการบูชาด้วยฟ้อนรำ ดนตรี ประโคมขับ และดอกไม้นานาประการ
และมีนักขัตฤกษ์เอิกเกริกกึกก้องฉลองถึง ๗ วันเป็นกำหนด
105  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๗๙ การแจกพระบรมสารีริกธาตุ on: August 23, 2009, 11:44:25 am


ภาพที่ ๗๙ โทณพราหมณ์แบ่งสรรพระบรมธาตุแก่พราหมณ์และกษัตริย์ ๗ พระนคร

ข่าวพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินาราแล้ว เจ้ามัลลกษัตริย์แห่งนครนี้พร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้ถวายพระเพลิงแล้วนั้น
ได้แพร่ไปถึงบรรดาเจ้านครแห่งแคว้นต่างๆ  บรรดาเจ้านครเหล่านั้นจึงได้ส่งคณะฑูตรีบรุดมายังเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระราชสาส์น

คณะฑูตทั้งหมดมี  ๗  คณะ มาจาก  ๗  นคร มีทั้งจากนครใหญ่  เช่น นครราชคฤห์ แห่งแคว้นมคธ ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นแห่งแรก 
และนครอื่นๆ เช่น กบิลพัสดุ์ เมืองประสูติของพระพุทธเจ้า คณะฑูตทั้ง ๗ เมื่อเดินทางมาถึงเมืองกุสินาราก็ได้ยื่นพระราชสาส์นนั้นแก่เจ้ามัลลกษัตริย์ 
ในพระราชสาส์นนั้นมีความว่า เจ้านครทั้ง ๗ มาขอส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุเพื่อนำไปบรรจุในสถูปให้เป็นที่สักการบูชาไว้ที่นครของตน 
พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ตอบปฏิเสธแข็งขันไม่ยอมให้ โดยอ้างเหตุผลว่าพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองของตน พระบรมสารีริกธาตุจึงเป็นสมบัติของเมืองนี้เท่านั้น

เมื่อเจ้ามัลลกษัตริย์ไม่ยอมแบ่ง บรรดาเจ้านครทั้ง ๗  ก็ไม่ยอม จะขอส่วนแบ่งให้ได้ สงครามแย่งพระบรมสารีริกธาตุก็ทำท่าจะเกิดขึ้น 
แต่พอดีท่านผู้หนึ่งซึ่งชื่อ 'โทณพราหมณ์' ได้ระงับสงครามไว้เสียก่อน โทณพราหมณ์อยู่ในเมืองกุสินารา ตามประวัติแจ้งว่าเป็นผู้เฉลียดฉลาดในการพูด 
เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาเจ้านคร และเป็นผู้มีชื่อเสียงในเรื่องเกียรติคุณ ได้ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นเลขาธการสหประชาติในสมัยปัจจุบัน 
คือได้ระงับสงครามไว้เสียทัน โดยได้ปราศรัยให้ที่ประชุมฟังว่า

"พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสรรเสริญขันติธรรมและสามัคคีธรรม แล้วเราทั้งหลายจะมาทะเลาะวิวาททำสงครามกันเพราะพระบรมสารีริกธาตุเป็นเหตุทำไม   
มาแบ่งกันให้ได้เท่าๆกันดีกว่า พระบรมสารีริกธาตุจักได้แพร่หลายและเป็นประโยชน์แก่มหาชนทั่วโลก"

ที่ประชุมเลยตกลงกันได้ โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนโดยใช้ตุมพะ คือทะนานทองเป็นเครื่องตวง 
ให้เจ้านครทั้ง  ๗  คนละส่วน เป็น  ๗  ส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของเจ้านครกุสินารา แล้วเจ้านครทั้งหมดต่างอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปเป็นที่ระลึก 
แล้วนำไปบรรจุไว้ในสถูปต่างหาก การแจกพระบรมสารีริกธาตุก็เสร็จสิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย

106  ห้องธรรมะศึกษา / ภาพพุทธประวัติ / ภาพที่ ๘๐ ประชุมทำสังคายนาพระธรรมวินัย on: August 23, 2009, 11:35:13 am


ภาพที่ ๘๐ พระมหากัสสปกับพระอริยสงฆ์ยกปฐมสังคายนา สืบอายุพระศาสนามาถึงบัดนี้

ตอนถวายพระเพลิงพระศพพระพุทธเจ้าที่เมืองกุสินารา 
เป็นเวลาที่พระสงฆ์สาวกซึ่งเดินทางมาชุมนุมกันที่เมืองนี้มีจำนวนมากกว่าครั้งใดๆ จึงเมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว   
พระมหากัสสปซึ่งเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ได้จัดให้มีการประชุมพระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรกขึ้นที่เมืองกุสินารา

เรื่องที่ประชุมคือ เรื่องจะสังคายนาพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงและบัญญัติไว้
ท่านได้ปรารภเรื่องเสี้ยนหนามพระศาสนาที่ท่านได้ประสบเมื่อระหว่างเดินทางมา
ที่พระภิกษุแก่กล่าวแสดงความยินดีที่พระพุทธเจ้านิพพานให้ที่ประชุมทราบด้วย

ที่ประชุมมีมติเลือกพระสงฆ์เถระ ๓ รูปเป็นประธานทำหน้าที่สังคายนา คือ พระมหากัสสป พระอุบาลี และพระอานนท์ 
ในการนี้ให้พระมหากัสสปเป็นประธานใหญ่ ให้มีหน้าที่คัดเลือกจำนวนสมาชิกสงฆ์ผู้จะเข้าประชุมทำสังคายนา 
พระมหากัสสปคัดเลือกพระสงฆ์ได้ทั้งหมด  ๕๐๐  รูปแล้วตกลงเลือกเอานครราชคฤห์แห่งแคว้นมคธเป็นสถานที่สถานที่ประชุม   
ส่วนเวลาประชุมคือ ตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นไป หรืออีก  ๓  เดือนนับแต่นี้

หลังจากนั้น พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมประชุมทำสังคายนา ต่างเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองราชคฤห์ 
เมื่อไปถึงทางคณะสงฆ์ได้ขอความอุปถัมภ์จากบ้านเมืองแห่งนี้ ในด้านการซ่อมวิหารที่พักสงฆ์ 
ตกแต่งสถานที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นในถ้ำปาสาณคูหาในภูเขาเวภารบรรพตซึ่งอยู่นอกเมือง

ทางคณะสงฆ์ได้ขอให้ทางบ้านเมืองประกาศห้ามนักบวชและพระสงฆ์อื่นๆ ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประชุมทำสังคายนา
เข้ามาอยู่ในเมืองราชคฤห์ ตลอดเวลาที่สงฆ์ทั้งหมดทำสังคายนาอยู่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันอุปสรรคขัดขวาง
อันอาจจะเกิดมีเป็นเหตุให้การประชุมทำสังคายนาเป็นไปโดยความไม่เรียบร้อยนั่นเอง
107  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / ทำบาปเพราะจำเป็น เป็นบาปหรือไม่ on: August 21, 2009, 11:22:58 am
ปัญหา
บางครั้งบางคราว คนเราจำต้องทำความชั่ว เพราะความจำเป็น เช่น กระทำเพราะเห็นแก่มารดาบิดาผู้มีอุปการคุณ เป็นต้น
ในกรณีเช่นนั้น จะจัดว่าเป็นบาปหรือไม่ ?


พระสารีบุตรตอบ
“.....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม
เพราะเหตุแห่งบิดามารดา นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก เพราะเหตุแห่งการประพฤติไม่ชอบธรรมและประพฤติผิดธรรม
เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราเป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งบิดามารดา
ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปสู่นรกเลย หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามปรารถนาหรือว่า
ผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรมประพฤติผิดธรรม เพราะเหตุแห่งการทั้งหลาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย

“.....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม ประพฤติผิดธรรม
เพราะเหตุแห่งบุตรและภริยา.... เพราะเหตุแห่งทาสกรรมกร และคนรับใช้...... เพราะเหตุแห่งมิตรและอำมาตย์.......
เพราะเหตุแห่งญาติสาโลหิต....... เพราะเหตุแห่งแขก..... เพราะเหตุแห่งปุพพเปตชน...... เพราะเหตุแห่งเทวดา.....
เพราะเหตุแห่งพระราชา...... เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย...... เพราะเหตุทำนุบำรุงกาย
นายนิริยบาลจะพึงฉุดคร่าเขาผู้นั้นไปยังนรก......เขาจะพึงได้ตามความปรารถนาหรือว่า เราประพฤติไม่ชอบธรรม......
เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย....... ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเราไปสู่นรกเลย
หรือมารดาบิดาของผู้นั้นจะพึงได้ตามปรารถนาหรือว่าผู้นี้เป็นผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม.....
เพราะเหตุแห่งการเลี้ยงกาย ขอนายนิริยบาลอย่าพึงฉุดคร่าเขาไปนรกเลย

“.....ดูก่อนธนัญชานิ ท่านจะเข้าใจความข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลผู้ประพฤติไม่ชอบธรรม.......
เพราะเหตุแห่งบิดามารดา กับบุคคลผู้ประพฤติชอบธรรม ประพฤติถูกธรรม เพราะเหตุแห่งมารดาบิดา ไหนจะประเสริฐกว่ากัน
“.....ดูก่อนธนัญชานิ การงานอย่างอื่นที่มีเหตุประกอบด้วยธรรม เป็นเครื่องให้บุคคลอาจเลี้ยงมารดาบิดาได้
ไม่ต้องทำกรรมอันลามก และให้ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นบุญได้ มีอยู่ฯ”


ธนัญชานิสูตร ม. ม. (๖๗๖-๖๘๖)
ตบ. ๑๓ : ๖๒๕-๖๒๙ ตท.๑๓ : ๕๐๙-๕๑๓
ตอ.  : ๓๗๓-๓๗๕
108  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / ไล่มดแบบพุทธ on: August 21, 2009, 08:42:42 am
109  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / การปล่อยวาง on: August 21, 2009, 08:37:33 am












ที่มา variety.teenee.com
110  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / เจ้าหนี้ on: August 21, 2009, 08:34:11 am
111  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / น้ำใจลูกที่ปลูกฝัง on: August 21, 2009, 08:33:08 am
112  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / คุณพระช่วย on: August 21, 2009, 08:31:31 am
113  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / นิ้วเจ็บ on: August 21, 2009, 08:29:30 am
114  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / ได้อาศัย on: August 21, 2009, 08:09:38 am
115  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / หมอเทศน์ดีกว่าพระ on: August 21, 2009, 08:08:22 am
116  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / เคาะมงคล on: August 21, 2009, 08:06:02 am
117  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / คำขอโทษ on: August 21, 2009, 08:03:08 am
118  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / ปีเอ๋ย ปีใหม่ on: August 21, 2009, 08:01:29 am
119  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / กลัวผี on: August 21, 2009, 08:00:17 am
120  ห้องธรรมะศึกษา / การ์ตูนธรรมะ / กรุกลางทะเล on: August 21, 2009, 07:59:16 am
121  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / ฆ่าตัวตายถือเป็นปาณาติบาตหรือเปล่าคะ? on: August 21, 2009, 03:05:51 am
การฆ่าตัวตายไม่ใช่ปาณาติบาต แต่เป็นอัตวินิบาต เป็นกรรมคนละอย่างครับ
ปาณาติบาตคือปลงชีวิตสัตว์อื่น มีผลให้ชีวิตของสัตว์อื่นขาดก่อนถึงอายุขัย พรากสิทธิ์ในการมีชีวิตไปจากเขา
โดยเฉพาะหากเขามีบุญมาก ก็เท่ากับตัดโอกาสเสวยสุขของเขาทิ้งทั้งยวง

ส่วนอัตวินิบาต คือ การปลงชีวิตตนเอง มีผลให้ไม่ได้ใช้กรรมที่ควรใช้ก่อนถึงอายุขัย
โดยเฉพาะหากมีบาปมาก ก็เท่ากับพยายามแหกคุกเพื่อหนีโทษด้วยทางลัด

การไม่รอให้มีการล้างไพ่ใหม่ตามกาล จัดเป็นการตัดตอน สร้างปมยุ่งเหยิงขึ้น ไม่ให้เป็นไปตามวิถีธรรมชาติกรรมวิบาก
เปรียบกับหนี้ก็ซับซ้อนกว่าหนี้ชนิดไหนๆ เนื่องจากการทบหนี้กรรมนั้นแตกต่างจากการทบต้นทบดอกของหนี้สินเงินทองมาก

ถ้าคุณฆ่าคนมีบุญ โอกาสเสวยบุญของเขาที่ถูกตัดทิ้ง ย่อมสะท้อนกลับมาเป็นความหมดโอกาสเสวยบุญของคุณเช่นกัน
คุณจะมีอายุมากในอัตภาพที่เป็นทุกข์ แต่จะมีอายุสั้นในอัตภาพที่เป็นสุข

และถ้าฆ่าตัวเองขณะต้องใช้บาป การหนีโทษย่อมเป็นการเพิ่มโทษในตัวเอง ทุกข์ที่ยังไม่เสวยก็ต้องเสวยอยู่ดี
แถมพ่วงทุกข์อันเกิดจากการพยายามแหกคุกเข้าไปอีกกระทง นั่นคือแทนที่จะต้องทนทุกข์ในสภาพมนุษย์ตามเดิม
ก็ต้องไปทนทุกข์ในสภาพเปรต สภาพเดรัจฉาน หรือสภาพสัตว์นรก ซึ่งเป็นอัตภาพที่แย่หนักเข้าไปใหญ่

ข้อแตกต่างระหว่างปาณาติบาตกับอัตวินิบาตยังมีอีกมาก เช่น ปาณาติบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความโหดเหี้ยมของจิตใจ
มีใบหน้าเหี้ยมเกรียม มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพกาย อาจถูกรังแก อาจถูกฆ่าให้ตายก่อนวัยอันควร
ส่วนอัตวินิบาตมีผลในกาลต่อไปเป็นความอ่อนแอทางใจ มีใบหน้าเศร้าหมอง มีความเดือดร้อนเรื่องสุขภาพจิต
คิดมากและน้อยใจเก่ง รู้สึกอ่อนแอ อยากตายด้วยเหตุบีบคั้นแค่ง่ายๆ เป็นต้น

การฆ่านั้น ไม่ว่าฆ่าผู้อื่นหรือฆ่าตนเอง ย่อมได้ชื่อว่าทำจิตให้เศร้าหมอง เมื่อจิตเศร้าหมองย่อมมีคติวิบัติเป็นที่หวัง
แต่หากฆ่าตนเองโดยไม่มีจิตเศร้าหมอง ทำจิตให้ขาดจากอุปาทานว่าเป็นตัวตน อันนั้นพระพุทธเจ้าสรรเสริญ

การสิ้นชีวิตขณะไร้อุปาทานไม่ถือเป็นบาปด้วยประการทั้งปวง
ที่ทำอย่างนั้นได้ก็มีแต่ผู้ศึกษาธรรมจนเข้าใจ และปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงแล้วเท่านั้นครับ

อ้างอิง ดังตฤณ
122  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / พระภิกษุรับเงินและทองได้ ถูกต้องหรือ? on: August 21, 2009, 03:01:41 am
ปัญหา ราชบริษัทในเมืองราชคฤห์สนทนากันว่า เงินและทองเป็นสิ่งควรแก่พระภิกษุ
พระภิกษุยังยินดีในเงินและทอง และย่อมรับเงินและทองได้
นายบ้านนามว่ามณีจูฬกะได้ยินเช่นนั้น จึงปฏิเสธคำกล่าวหานั้นแล้วภายหลังได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ และทูลถามว่าที่เขาปฏิเสธไปนั้นถูกต้องหรือไม่ ?


พุทธดำรัสตอบ
“ดีละ นายคามณี เมื่อท่านตอบอย่างนั้นเป็นอันกล่าวตามที่เรากล่าว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง
และคราวตอบธรรมถูกต้องเหมาะสม ... เพราะว่าทองและเงินไม่ควรแก่สมณศากยบุตร
สมณศากยบุตรย่อมไม่ยินดีในเงินและทอง ห้ามเสียซึ่งเพชรนิลจินดาและทอง ปราศจากเงินและทอง

“ดูก่อนนายคามณี กามคุณทั้ง ๕ ควรแก่ผู้ใด เงินและทองย่อมควรแก่ผู้นั้นท่านพึงจำข้อนี้ไว้อย่างเด็ดขาดเถิด ว่า
ข้อนั้นไม่ใช่สมณธรรม ไม่ใช่ธรรม ของสมณศากยบุตร นายคามณี เรากล่าวยืนยันอย่างนี้ว่า
ผู้ต้องการหญ้าพึงแสวงหาหญ้า ผู้ต้องการไม้พึงแสวงหาไม้ ผู้ต้องการหาเกวียนพึงแสวงหาเวียน
ผู้ต้องการบุรุษจึงแสวงหาบุรุษ แต่เรามิได้กล่าวโดยปริยายใด ๆ เลยว่า พระศากยบุตรพึงยินดีและแสวงหาเงินและทอง....”


มณีจุฬาสูตร สฬา. สํ. (๖๒๓-๖๒๖)
ตบ. ๑๘ : ๔๐๑-๔๐๓ ตท. ๑๘ : ๓๕๕-๓๕๗
ตอ. K.S. ๔ : ๒๓๐-๒๓๒

ที่มา www.84000.org
123  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / ควรจะทำจิตใจอย่างไร ในเวลาจวนตาย ? on: August 21, 2009, 02:59:00 am
ปัญหา ในเวลาเจ็บหนักจวนตาย ควรจะทำจิตใจอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติคอยกาลเวลานี้เป็นคำแนะนำของเราแก่ท่านทั้งหลาย

“ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นภายในกายอยู่เป็นประจำ มีความเพียรในความรู้ตัว
มีสติพึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เป็นประจำ พิจารณาเห็นจิตใจอยู่เป็นประจำ
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เป็นประจำ อย่างนี้เรียกว่าเป็นผู้มีสติ

“ภิกษุเป็นผู้มีความรู้ตัวอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีปกติทำความรู้สึกตัวในการก้าวไป
การถอยหลับ.... การแล.... การเหลียว...การคู้เข้า...การเหยียดออก...การทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ...
การกิน ดื่ม เคี้ยว ลิ้ม... การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ... การเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด นิ่ง...

“ถ้าเมื่อภิกษุนั้น มีสติสัมปชัญญะ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่อย่างนี้ สุขเวทนา ทุกขเวทนา
หรืออทุกขมสุขเวทนา ย่อมบังเกิดขึ้น เธอย่อมรู้อย่างนี้ว่า เวทนาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ก็แต่ว่า เวทนานั้นมีที่อาศัยจึงเกิดขึ้น อาศัยอะไร อาศัยกายนี้เอง ก็กายนี่แลไม่เที่ยง
ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ก็เวทนาอาศัยกายอันไม่เที่ยง จักเที่ยงแต่ที่ไหนดังนี้
เธอย่อมพิจารณาเห็นความเที่ยง ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในกายและเวทนา
ย่อมละราคานุสัยในกายและสุขเวทนา ย่อมละปฏิฆานุสัยในกายและทุกขเวทนา
ย่อมละอวิชชานุสัยในกายและอทุกขมสุขเวทนาเสียได้

“ถ้าภิกษุเสวยสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่าเวทนานั้นไม่เที่ยง
ไม่น่าหมกมุ่น ไม่น่าเพลิดเพลิน ย่อมเป็นผู้ปราศจากกิเลสเสวย เวทนานั้น
ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งกาย
เมื่อเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต ย่อมรู้ชัดว่าเราเสวยเวทนาอันเป็นที่สุดแห่งชีวิต
ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตกตายหลังแต่ความสิ้นชีวิต เวทนาที่ไม่น่าเพลิดเพลินทั้งปวงในโลกนี้ จักดับเย็นสนิทไป...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันอาศัยน้ำมันและไส้จึงลุกโพลงอยู่ได้
เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อเพลิง พึงดับไป...”

เคลัญญสูตร ที่ ๑ สฬา. สํ. (๓๗๔-๓๘๑)
ตบ. ๑๘ : ๒๖๐-๒๖๔ ตท. ๑๘ : ๒๔๒-๒๔๕
ตอ. K.S. ๔ : ๑๔๒-๑๔๓

ที่มา www.84000.org
124  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / ผู้บิณฑบาตควรคิดอย่างไร? on: August 21, 2009, 02:56:52 am
ปัญหา ในการบิณฑบาตเลี้ยงชีพ พระภิกษุควรจะคิดอย่างไร และควรปฏิบัติตนอย่างไรจึงจะถูกต้อง ?

พุทธดำรัสตอบ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรทั้งหลายมุ่งต่อประโยชน์ อาศัยอำนาจแห่งประโยชน์
จึงเข้าสู่ภาวะแห่งการเลี้ยงชีพด้วยบิณฑบาตนี้แล
ไม่ใช่เป็นคนหนีราชทัณฑ์ หนีโจร ไม่ใช่มีหนี้ ไม่ใช้ผู้มีภัย ไม่ใช่ไม่มีอาชีพ....

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรนี้บวชแล้วเพราะคิดว่า
เราทั้งหลายถูก ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปยาส ครอบงำแล้ว
ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว เป็นผู้มีทุกข์ประจำแล้ว ไฉนหนอ พึงทำที่สุดแห่งทุกข์ให้ปรากฏได้ ....
แต่ว่ากุลบุตรนั้นมากไปด้วยความโลภจัด มีราคะแรงกล้าในกามทั้งหลาย มิจิตพยาบาท มีความดำริที่ถูกทำให้เสียหายแล้ว
มีสติหลงลืมไม่มีสัมปชัญญะ มีใจไม่เป็นสมาธิ มีจิตผันแปร ไม่สำรวมอินทรีย์

“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเช่นนี้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ด้วยไม่ทำประโยชน์ คือความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ด้วย
เรากล่าวว่าเขาเปรียบด้วยดุ้นฟืน ในที่เผาศพซึ่งติดไฟทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนด้วยคูถ
จะใช้เป็นฟืนในบ้านก็ไม่ได้ จะใช้เป็นฟืนในป่าก็ไม่ได้”


ปิณโฑลยสูตร ขันธ. สํ. (๑๖๗)
ตบ. ๑๗ : ๑๑๓ ตท. ๑๗ : ๑๐๐
ตอ. K.S. ๓ : ๗๘-๗๙

ที่มา www.84000.org
125  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / พระพุทธเจ้าทรงเคารพอะไร? on: August 21, 2009, 02:55:26 am
ปัญหา พระพุทธเจ้าจัดว่าเป้นพระบรมศาสดาของโลก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรงเคารพใคร ? หรือว่าไม่ทรงเคารพใครเลย ?


พุทธดำรัสตอบ
“.... บุคคลผู้ไม่มีที่เคารพ ที่ยำเกรง ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะเคารพอาศัยสมณะ หรือพราหมณ์ใครผู้ใดอยู่หนอ ?
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริว่า “เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่
เพื่อความบริบูรณ์แห่งศีลขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่า เรายังไม่เห็นสมณหรือพราหมณ์อื่นที่ถึงพร้อมด้วยศีลยิ่งกว่าตนในโลก
พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่“

“เราควรสักการะเคารพสมณะหรือพราหมณ์อื่นแล้วอาศัยอยู่ เพื่อความบริบูรณ์แห่งสมาธิที่ยังไม่บริบูรณ์....
เพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์.... เพื่อความบริบูรณ์แห่งวิมุติขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์....
เพื่อความบริบูรณ์ แห่งวิมุติญาณทัสสนะขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ แต่ว่าเรายังไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น
ที่ถึงพร้อมด้วยสมาธิ.... ที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา.... ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติ.....
ที่ถึงพร้อมด้วยวิมุติญาณทัสสนะยิ่งกว่าตนในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งเราควรสักการะเคารพแล้วอาศัยอยู่

“อย่างกระนั้นเลย เราควรสักการะเคารพธรรมที่เราตรัสรู้นั่นแหละ แล้วอาศัยอยู่”

คารวสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๕๖๐)
ตบ. ๑๕ : ๒๐๓-๒๐๕ ตท. ๑๕ : ๑๙๔-๑๙๕
ตอ. K.S. I : ๑๗๕

ที่มา www.84000.org
126  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / ฆ่าสัตว์แล้วให้ทาน ผลทานจะเป็นอย่างไร? on: August 21, 2009, 02:52:49 am
ปัญหา บางคนฆ่าสัตว์แล้วนำมาให้ทาน ผลทานของเขาจะเป็นอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ
“บุคคลเหล่าหนึ่ง ตั้งอยู่ในกรรมปราศจากความสงบโบยเขา ฆ่าเขา ทำให้เขาเศร้าโศก แล้วให้ทาน
ทานนั้นจัดว่า ทานมีหน้านองด้วยน้ำตา จัดว่าทานเป็นไปกับด้วยอาชญา
จึงย่อมไม่เท่าพึงส่วนแห่งทานที่ให้ด้วยความสงบ....”


มัจฉริยสูตรที่ ๒ ส.สํ. (๘๓)
ตบ. ๑๕ : ๒๗-๒๘ ตท. ๑๕ : ๒๖-๒๗
ตอ. K.S. I : ๒๙

ที่มา www.84000.org
127  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / เมื่อถูกด่าว่าด้วยคำหยาบคาย ทำอย่างไร on: August 21, 2009, 02:48:28 am
ปัญหา เมื่อเราถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย เราควรจะปฏิบัติอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ
“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม
จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคายก็ตาม
จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม
จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะภายในกล่าวก็ตาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก
เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายในเราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
และจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก
ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายถึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แลฯ ”

กกจูปมสูตร มู. ม. (๒๖๗)
ตบ. ๑๒ : ๒๕๕-๒๕๖ ตท.๑๒ : ๒๐๖-๒๐๗
ตอ. MLS. I : ๑๖๓-๑๖๔


ที่มา www.84000.org
128  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / เราจะมีจิตที่ให้ความเมตตา ทำอย่างไร on: August 21, 2009, 02:43:53 am


ทำอย่างไรเราจะมีจิตที่ให้ความเมตตากับทุกคนได้
ไม่ใช่เฉพาะบุคคลที่เราชอบ แต่รวมไปถึงบุคคลที่เราไม่ชอบและไม่ ถูกชะตาด้วย จะทำยังไง



พระอาจารย์ :
การที่จะได้มีเมตตาจิต เราต้องเห็นคุณค่าของการมีเมตตา เพราะถ้าเราไม่เห็นคุณค่าของการมีเมตตาคือความเอื้ออารี
มีความเอื้อเฟื้อต่อทั้งตัวเองก็ดี ทั้งสรรพสัตว์ทั้งหลายก็ดี มันก็ยากที่จะเกิดขึ้น เราต้องเห็นคุณค่าเสียก่อน
เราต้องเห็นโทษในการไม่มี เพราะเวลาที่จิตใจของเราปราศจากเมตตา คือเวลาเรามีความขัดเคืองก็ดี มีความไม่พอใจก็ดี
มีแรงโทสะก็ดี มีความหงุดหงิดรำคาญก็ดี คือจิตใจของเรามันอึดอัดมันคับแคบน้อยหนึ่ง
แต่ถ้าเรามีเมตตาจิตของเรามันกว้างขวาง มันเทียบกันไม่ได้ มีอะไร เราก็ไม่หวั่นไหว เพราะว่าจิตใจของเรามันมีความกว้างขวาง
รับ อะไรได้โดยไม่หวั่นไหว และไม่ดูถูก เราก็ไม่รำคาญกับอะไร แต่ถ้าจิตของเรามันเหลือหน่อยเดียว มันรำคาญ
เดี๋ยวก็อึดอัด เดี๋ยวก็รู้สึก เศร้าหมอง ดูแล้วมันก็มีโทษจริงๆ เราเห็นคุณเห็นประโยชน์ในการฝึกให้มีเมตตาจิต
เราเห็นว่าการมีเมตตาจิต ก็เป็นส่วนที่มีคุณค่ามาก เราก็ต้องให้กำลังใจกับตัวเองที่จะทำเมตตาจิตขึ้นมา
พระพุทธเจ้าเห็นความสำคัญของการมีเมตตาขนาดที่ว่า พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าหากว่าโจรมาจับเราและก็เอาเลื่อย
และก็กำลังจะเลื่อยขาเลื่อย แขน เราทิ้งเมตตาจิตเกิดโทสะ เกิดความไม่พอใจ มันก็ไม่เป็นศิษย์ของท่าน
อันนี้สุดโต่งจริงๆ นะ เรื่องทำยาก แต่ว่าเป็นเรื่องที่น่าคิด เพราะว่าคือท่านให้ความสำคัญกับเมตตาจิตอย่างมาก
คือถ้าผู้มีเมตตาและกำลังจะรักษาธรรมะของท่านไว้ เวลาไหนที่เราเกิดความไม่พอใจ เกิดความรำคาญ เกิดความหงุดหงิด
เกิดโทสะขึ้นมา เกิดความจองเวรขึ้นมา เราก็ไม่ได้อยู่กับธรรมะของพระพุทธเจ้าเลย ก็เป็นเรื่องที่น่าสงสารตัวเอง
น่าสงสารว่า เออ เราก็ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา มีโอกาสที่จะปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและเราไม่เอา
เหมือนกับเราไปแลกของเน่ากับของดี เรามีของดี เราไปแลกเอาของเน่าแทน ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย
เราก็ ต้องให้กำลังใจกับตัวเอง เมตตา พระพุทธเจ้าให้คุณค่ามาก

อ้างอิง สติปัฏฐาน ๔ (พระอาจารย์ปสนฺโน ภิกขุ)
129  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / เหตุที่คนรุ่นใหม่ไม่สำนึกถึงบุญคุณ on: August 21, 2009, 02:39:33 am


ผู้ฟัง :
ปัจจุบันนี้ คนรุ่นใหม่ไม่ตระหนักถึงความกตัญญู และสำนึกถึงบุญคุณคน สนใจแต่เรื่องภายนอก
คือการแต่งกาย ดู ว่าจะดูดี แต่ภายในจิตใจนั้นยังไม่ทราบ
ขอกราบพระอาจารย์ช่วย ให้ธรรมะข้อใด เพื่อเป็นธรรมสำหรับในการที่จะนำไปปฏิบัติต่อไป


พระอาจารย์ :
อาตมาคิดว่ามันเป็นเรื่องเป็นปัญหาประจำโลก ไม่ว่าจะอยู่ที่ประเทศไหน วัฒนธรรมไหน สังคมไหน
คนจะบ่นเรื่องรุ่นใหม่อยู่เรื่อย รุ่นใหม่ไม่เอาไหน รุ่นใหม่ไม่มีเรื่องนี้เรื่องนั้น แต่มันก็เป็นส่วนที่คือ
ถ้าอยากให้รุ่นใหม่ดี รุ่นเก่าเป็นยังไง มันเป็นปัญหามากกว่า รุ่นเก่าที่เป็นแบบอย่าง
อย่างพ่อแม่ชอบบ่นเรื่องลูก แต่ว่าลูกมันได้เลียนแบบจากที่ไหน หน้าที่ของผู้ที่เป็นพ่อแม่ก็ดี หรือ ผู้ที่เป็นรุ่นพี่ก็ตาม
คือคนที่เป็นคนใหม่ขึ้นมา เขาก็ต้องตามแบบอย่างที่เห็นที่ใกล้ชิด

ถ้าหาก ยกตัวอย่างง่ายๆ ในป่ามีต้นไม้อยู่ตรงนี้ แล้วก็มีต้นไม้อยู่ทางโน้น แล้วก็มีเครือเถาวัลย์เกิดขึ้นอยู่ตรงนี้
มันจะไปพันต้นไม้ไหน มันจะพันต้นนี้ใช่มั้ย มันไม่ไปพันต้นไม้โน้น มันจะพันต้นไม้ที่ใกล้เคียงกัน

ลูกก็เช่นเดียวกัน มันก็จะตามพ่อแม่ไปเป็นหลักที่สำคัญหรือคนที่เป็นรุ่นใหม่ เขาก็จะตามรุ่นที่มาก่อน
เป็นส่วนที่เราก็ต้อง พยายามให้ตัวเราเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นสิ่งที่สำคัญ

เพราะว่าคนส่วนใหญ่ เขาจะทำสิ่งที่ได้เห็นมากกว่าสิ่งที่ ได้ยิน เห็นตัวอย่างอย่างไร เห็นการกระทำอย่างไร
ตัวนี้มีน้ำหนักมากกว่าพูด เช่น อย่างในฐานะที่อาตมาเองเป็นอาจารย์ อาตมาก็สอนได้พูดได้
แต่สิ่งที่มีน้ำหนักมากกว่าคือ เรื่องการกระทำของเราเอง ในฐานะที่เราเป็นผู้นำ เราพูดในลักษณะที่เป็นอาจารย์หรือเป็นเจ้าอาวาส
แต่อย่างนี้ก็เป็นลักษณะธรรมชาติ อย่างเรานึกถึงเรื่องที่อาตมาได้เล่าให้ฟัง ที่ได้สอนเรื่องพระสารีบุตร
ที่พระสารีบุตรได้เกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนา ท่านเกิดศรัทธาเพราะท่านเห็นพระอัสสชิ เดินอย่างสำรวม บิณฑบาตอย่างสำรวม
มีความสง่างดงามในกิริยาของท่าน ก็ยังไม่ทันได้ฟังอะไรก็เกิดศรัทธาเพราะการกระทำ

เพราะว่ามันมีน้ำหนักมากโดยธรรมชาติ เพราะคนพูดก็พูดดี มีเหตุมีผล พูดมีความฉลาด
แต่ว่าการกระทำมันไม่ดี มันไม่ตรงไม่เหมือนที่พูดหรือได้บ้างไม่ได้บ้าง มันก็ลดน้ำหนักลง มันมีน้ำหนักน้อย
การกระทำมีน้ำหนักมาก ในฐานะที่เราเป็นชาวพุทธ และในฐานะไหนที่เรามีในสังคม เราก็พยายามที่จะให้เป็นผู้ที่มีการกระทำ
การปฏิบัติตรงต่อศีลต่อธรรม คือจะมีผลในลักษณะของการที่ได้...เพราะอย่างไรคนคนเดียว เราต้องสัมผัสกับหลายๆ คน
ถ้าเรา เป็นลูก เรายังต้องมีการสัมพันธ์กับพ่อกับพี่กับน้อง กับเพื่อนฝูงที่ทำงาน ที่เราเรียน ที่เรามีการรับผิดชอบอื่นๆ ในสังคม
ถ้าเราเป็นพ่อเป็นแม่คน เรายังต้องสัมพันธ์กับลูกกับหลาน กับคนรอบข้างที่เป็นเพื่อนฝูง มีส่วนรับผิดชอบอื่นๆ

คือมนุษย์คนเดียวมันไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว ในโลกนี้อยู่โดดเดี่ยวไม่ได้ แต่ก็อย่าคิดว่าเราคนเดียวทำอะไรไม่ได้
เพราะว่าเราคนคนเดียว เราต้องสัมผัสกับคนอยู่ตลอด เราเป็นสิ่งที่คนอื่นเขาก็สังเกต เขาก็ได้เห็น

ทุกวันนี้คนหาแบบอย่างของชีวิตที่ดี ไม่มีใครตื่นขึ้นตอนเช้า แล้วก็มีการคิดว่าวันนี้จะทำยังไงชีวิตจะเหลวไหล มันไม่มีใครคิด
มีแต่คิดว่าทำอย่างไรชีวิตจะมีความก้าวหน้า มีอะไรที่ดีเกิดขึ้นในชีวิตของเรา
เมื่อได้เห็นบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่กำลังทำอะไรที่เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นสิ่งที่คนเรานั้นได้เกิดกำลังใจได้เกิดแนวคิดเช่นเดียวกัน
เป็นการจุดประกายทีละเล็กทีละน้อย เป็นสิ่งที่เราเองทำได้ และก็ทำแบบสบาย เราทำอย่างนั้น คือเราสบาย คนอื่นก็สบายด้วย

อ้างอิง สติปัฏฐาน ๔ (พระอาจารย์ปสนฺโน ภิกขุ)
130  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกภรรยาไว้ ? on: August 21, 2009, 02:35:15 am
ปัญหา พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกภรรยาไว้กี่ประเภท มีอะไรบ้าง ?

พุทธดำรัสตอบ “......ดูก่อนสุชาดา ภรรยาของบุรุษ ๗ จำพวกนี้... คือ
ภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาต ๑
ภรรยาเสมอด้วยโจร ๑
ภรรยาเสมอด้วยนาย ๑
ภรรยาเสมอด้วยแม่ ๑
ภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาว ๑
ภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ๑
ภรรยาเสมอด้วยทาสี ๑

ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยเพชฌฆาตนั้น เป็นอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “.....ภรรยาผู้มีจิตประทุษร้าย ไม่อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูล ยินดีในชายอื่น ดูหมิ่นสามี
เป็นผู้อันเขาซื้อมาด้วยทรัพย์ พยายามจะฆ่าผัว ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าวธกาภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยเพชฌฆาต”

ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยโจร นั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “.....สามีของหญิงประกอบด้วยศิลปกรรม พาณิชยกรรม และกสิกรรม ได้ทรัพย์ใดมา
ภรรยาปรารถนาจะยักยอกทรัพย์แม้มีอยู่น้อยนั้นเสีย ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าโจรภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยโจร”

ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยนายนั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “.....ภรรยาที่ไม่สนใจการงาน เกียจร้าน กินมาก ปากร้าย ปากกล้า ร้ายกาจ
กล่าวคำหยาบข่มขี่สามีผู้ขยันขันแข็ง ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าอัยยภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยนาย”

ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยแม่นั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “.....ภรรยาใดอนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลทุกเมื่อ ตามรักษาสามีเหมือนมารดารักษาบุตร
รักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้ ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่ามาตาภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยแม่”

ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยพี่สาวน้องสาวนั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “.....ภรรยาที่เป็นเหมือนพี่สาวน้องสาว มีความเคารพในสามีของตน เป็นคนละอายาบาป
เป็นไปตามอำนาจสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าภคินีภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว”

ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยเพื่อนนั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “.....ภรรยาใดในโลกนี้ เห็นสามีและชื่นชมยินดีเหมือนเพื่อนผู้จากไปนานแล้วกลับมา
เป็นหญิงมีตระกูล มีศีล มีวัตร ปฏิบัติสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าสขีภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยเพื่อน”

ปัญหา ที่ว่าภรรยาเสมอด้วยทาสีนั้น มีลักษณะอย่างไร ?
พุทธดำรัสตอบ “.....ภรรยาสามีเฆี่ยนตี ขู่ตะคอก ก็ไม่โกรธ ไม่คิดพิโรธโกรธตอบสามี อดทนได้
เป็นไปตามอำนาจสามี ภรรยาของบุรุษเห็นปานนี้เรียกว่าทาสีภริยา ภรรยาผู้เสมอด้วยทาสี”

ภริยาสูตร ส. อํ. (๖๐)
ตบ. ๒๓ : ๙๓-๙๕ ตท. ๒๓ : ๘๗-๘๘
ตอ. G.S. IV : ๕๗-๕๘
131  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ มีได้จริงหรือ ? on: August 21, 2009, 02:27:25 am
ปัญหา อิทธิปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เป็นสิ่งมีได้จริงหรือ ? ถ้ามีจริงจะมีวิธีสร้างได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ
“.....ดูก่อนภิกษุ ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอิทธิวิธีหลายประการ คือ
คนเดียวพึงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนพึงเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้
ทะลุฝ่ากำแพง ภูเขาไปได้ ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ พึงผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้
พึงเดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์...ก็ได้”

“ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ
เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ด้วยทิพยโสตอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของมนุษย์...

ถ้าภิกษุจะถึงหวังว่าเราพึงกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ
จิตมีราคะ จิตมีโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ มีโทสะ มีโมหะ
ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่าเราพึงระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือพึงระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง....
พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง .... ว่าในภพโน้นเรามีชื่อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้.....

“ถ้าภิกษุจะพึงหวังว่า เราพึงเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลวประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ พึงรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม...

ด้วยประการฉะนี้เถิด ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีล ประกอบธรรมเครื่องระงับจิตของตน
ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารฯ”

อากังเขยยสูตร มู. ม. (๘๕-๘๙)
ตบ. ๑๒ : ๖๐-๖๓ ตท.๑๒ : ๕๑-๕๓
ตอ. : ๔๓-๔๔
132  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / การเรียนธรรมก่อให้เกิดทุกข์โทษ มีหรือ on: August 21, 2009, 02:24:38 am
ปัญหา คนทั่วไปเข้าใจว่า การเรียนธรรมเป็นของดี มีประโยชน์ แต่ถ่ายเดียว
ใครจะทราบว่าการเรียนธรรมก่อให้เกิดทุกข์โทษ มีหรือไม่?


พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษเหล่าบางพวกในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานอิติวุตตกะชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ

บุรุษเหล่าเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรอง เนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา
ธรรมเหล่านั้นย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตรตรองเนื้อความด้วยปัญญา
บุรุษเปล่าเหล่านั้น เป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อข่มผู้อื่น)
และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ (เรียนเพื่อให้คนตำหนิมิได้) ย่อมเล่าเรียนธรรม
ก็กุลบุตรทั้งหลายย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเหล่าเหล่านั้นย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์แห่งธรรมนั้น
ธรรมเหล่านั้นอันบุรุษเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
ข้อนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษเสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ
เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษนั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่มือ ที่แขน
หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย
มีการกัดนั้นเป็นเหตุข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว”

อลคัททูปมสูตร มู. ม. (๒๗๘)
ตบ. ๑๒ : ๒๖๗-๒๖๘ ตท.๑๒ : ๒๑๗-๒๑๘
ตอ. : ๑๗๑-๑๗๒
133  ห้องธรรมะศึกษา / ข่าวพระพุทธศาสนา / ความโกรธมีโทษอย่างไรบ้าง on: August 21, 2009, 02:23:13 am
ปัญหา ความโกรธมีโทษอย่างไรบ้าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแนะนำให้ระงับกำจัดเสีย ?

พุทธดำรัสตอบ
“.....คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วกตาม...
ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม.....
“.....คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังก์อันลาด้วยฝ้าขนสัตว์ ลาด้วยฝ้าขาวเนื้ออ่อน
ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีผ้าดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้าแดงทั้งสองข้างก็ตาม ย่อมนอนเป็นทุกข์....

“.....คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งเป็นประโยชน์
แม้จะถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งไม่เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ...
ถือเอาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาล

“.....คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะมีโภคะที่ตนหามาได้ด้วยความขยันขันแข็ง
สั่งสมได้ด้วยกำลังแขนอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม พระราชาย่อมริบโภคะของคนขี้โกรธเข้าพระคลังหลวง....
“.....คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้เขาจะมีมิตร อมาตย์ ญาติสายโลหิต เหล่านั้นก็เว้นเสียห่างไกล...
“.....คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ครั้นแล้วเมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาตนรก....”

โกธนาสูตร ส. อํ. (๖๑)
ตบ. ๒๓ : ๙๖-๙๗ ตท. ๒๓ : ๘๙-๙๑
ตอ. : ๕๙-๖๐
Pages: 1 2 [3]
Powered by EzPortal
Bookmark this site! | Upgrade This Forum
Free SMF Hosting - Create your own Forum

Powered by SMF | SMF © 2016, Simple Machines
Privacy Policy